สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 93 คน ครูผู้สอน จำนวน 149 คน และ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 93 คน จากโรงเรียน 93 โรงเรียน รวมจำนวน 335 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) โดยกำหนดให้แต่ละอำเภอเป็นชั้น สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากแบบใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ (F-test ชนิด One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการของ scheffe
ผลการวิจัย พบว่า
1. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยรวมไม่แตกต่างกัน
3. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ตัวแปรพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 ด้านได้แก่ พฤติกรรมที่เน้นงาน และ พฤติกรรมที่เน้นความสัมพันธ์ ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 66.5 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.294
6. การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ในประเด็นที่สำคัญประกอบด้วย 1 ด้าน คือ พฤติกรรมที่เน้นการเปลี่ยนแปลง
The purpose of this study was to investigate administrative behavior factors of school administrators affecting school effectiveness in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2. The samples consisted of 93 school administrators, 149 teachers and 93 chairs of school committees from 93 schools-a total of 335 participants. This was done through multi-stage random sampling with each district as a level. In the case of school administrators and chairs of school board, simple random sampling was employed by taking lots. A tool applied to collect data was a rating scale questionnaire. Statistics employed included mean, standard deviation, F-test, and Scheffe’s method for pairwise test.
The findings were as follows:
1. The administrative behaviors of school administrators and the school effectiveness as perceived by school administrators, teachers and chairs of school committees in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 were at a high level in general.
2. The administrative behaviors of school administrators and school effectiveness as perceived by school administrators, teachers and chairs of school boards, as a whole, were not significantly different.
3. The administrative behaviors of school administrators as perceived by school administrators, teachers and chairs the school boards classified by school size showed no significant difference as a whole.
4. The school administrators’ administrative behaviors and school effectiveness in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 obtained a positive relationship, in general, at the .01 level of significance.
5. The variables on the administrative behaviors of school administrators based on 1) job-oriented behaviors, and 2) relationship-oriented behaviors, predicted school effectiveness at the .01 level of significance with the predicting power of 66.5, along with standard deviation of ± 0.294
6. The researcher obtained guidelines in promoting school administrators’ administrative behaviors in the schools for one main aspect: transformation-oriented behaviors.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 4,909.21 KB |