สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ชนิด One-Way ANOVA และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จำแนกตามสถานภาพโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งของครูผู้สอน ระดับการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง
4. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครจำแนกตามสถานภาพโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งของครูผู้สอน ระดับการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง
5. ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. องค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านที่ต้องพัฒนาประกอบด้วย การคิดเชิงระบบ สมาชิกที่มีความเป็นเลิศ และการเรียนรู้เป็นทีม ส่วนประสิทธิผลโรงเรียน ด้านที่ต้องยกระดับประกอบด้วย การบริหารงานบุคคล
The purpose of this research was to determine the relationship between learning organization and school effectiveness under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization. The study population and sample included school administrators, teachers and the Basic Education School Board under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization in the academic year 2017. A sample size of 137 persons was drawn from the population. Data collection instrument was a set of questionnaire. The statistics used for data analysis involved percentage, mean, standard deviation, F-test (One-Way ANOVA), and Pearson’s Product Moment Correlation.
The findings were as follows:
1. The learning organization as perceived by school administrators, teachers and the Basic Education School Board under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a whole and each aspect was at a high level.
2. The school effectiveness as perceived by school administrators, teachers and the Basic Education School Board under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a whole was at a high level.
3. The learning organization as perceived by school administrators, teachers and the Basic Education School Board under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, classified by school status, as a whole and each aspect was statistically different at the .01 significance level. There were no significant differences, as a whole and each aspect, in terms of teachers’ work experience and educational level the Basic Education School Board.
4. The school effectiveness as perceived by school administrators, teachers and the Basic Education School Board under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, classified by school status, was statistically different at the .01 significance level. There were no significant differences, as a whole and each aspect, in terms of teachers’ work experience and educational level the Basic Education School Board.
5. The relationship between learning organization and school effectiveness under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a whole had a positive relationship with a statistically significant difference at the .01 level.
6. The aspects of learning organization that required for further development involving system thinking, personal mastery, team learn. In the case of school effectiveness, the school personnel management was required a significant upgrade.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 2,957.61 KB |