สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t – test ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณที่ละขั้นตอน(Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยทางการบริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน
5. ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยทางการบริหาร ด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ด้านแรงจูงใจของบุคลากรในองค์การ ด้านลักษณะบุคลากรขององค์การ และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การ มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ใน 5 ด้านคือ ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ด้านแรงจูงใจของบุคลากรในองค์การ ด้านลักษณะบุคลากรขององค์การ และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กา
This study aimed to investigate administrative factors affecting organizational effectiveness at the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 (OSPESA 2), and to find out guidelines to upgrade administrative factors affecting organizational effectiveness of OSPESA 2. An instrument used to collect data was a rating scale questionnaire. Statistics employed comprised percentage, mean, standard deviation, t-test, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
Findings were as follows:
1. The administrative factors of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 were at the high level in general.
2. The organizational effectiveness of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 as a whole and in each aspect, was at the high level.
3. The administrative factors at Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 as perceived by the school administrators and educational personnel, in general and in particular, were significantly different.
4. There was a significant difference in the organizational effectiveness of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 in the opinions of the school administrators and educational personnel as a whole and in each aspect.
5. There was a positive relationship between administrative factors and organizational effectiveness at the .01 level of significance.
6. The administrative factors on administrative policy and practice, personnel characteristics in the organization, organizational leadership, motivation of personnel in the organization as well as technology on performance obtained the predicting power of the organization at the .01 level of significance.
7. In this study, the researcher proposed guidelines in upgrading the administrative factors affecting the organizational effectiveness of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 in 5 aspects: administrative policy and practice, personnel characteristics in the organization, organizational leadership, motivation of personnel in the organization as well as technology concerning performance.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 2,904.50 KB |