สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในขนาดของโรงเรียนต่างกัน ในเขตอำเภอที่โรงเรียนตั้งอยู่ ในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับชั้นต่างกัน และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 588 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t–test และ F–test (One–Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบหลัก พบว่า การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การประเมินคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
3. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบหลัก พบว่า การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
4. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามที่ปฏิบัติงานอยู่ในขนาดของโรงเรียนต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบหลัก พบว่า การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
5. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามในเขตอำเภอที่โรงเรียนตั้งอยู่ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบหลัก พบว่า การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการประเมินคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
6. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับชั้นต่างกัน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบหลัก พบว่า การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และการประเมินคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาองค์ประกอบหลัก ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบหลัก คือการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การจัดบรรยากาศของสถานศึกษา และการพัฒนาบุคลากร
This research was the study of instructional leadership of school administrators under the office of Kalasin Primary Educational Service Area 3. The study aims were : 1) To study the leadership administrators of the school. 2) To compare the leadership administrators of the school classified by status, an experienced in working differently, the performance difference is in the size of the school, in the district is located in the school, in education at different levels of teaching and 3) To developed guidelines of instructional leadership of school administrators. The samples consisted were : the administrators and the teachers under the office of Kalasin Primary Educational Service Area 3, in academic year 2557 totaled of 588 people. The instrument used for data collection was a questionnaire, 5-level rating scale. The statistics used in this study were : percentage, mean, standard analysis using t-test and F-test (One-Way ANOVA).
Findings were as follows :
1. The instructional leadership of school administrators. Overall, the high level.
2. The analysis of comparative data instructional leadership of school administrators were : The overall difference is statistically significant level. 01. When considering each the main components found that efficient leadership, difference is statistically significant at the .05 level. The evaluate the quality education, different level of statistical significance .01 on the other, no difference.
3. The analysis of comparative data instructional leadership of school administrators by experienced in working differently were : The overall no difference. When considering each the main components found that efficient leadership., different level of statistical significance .01 on the other, no difference.
4. The analysis of comparative data instructional leadership of school administrators by the performance difference is in the size of the school were : The overall no difference. When considering each the main components found that efficient leadership., different level of statistical significance .01 on the other, no difference.
5. The analysis of comparative data instructional leadership of school administrators by In the district is located in the school were : The overall no difference. When considering each the main components found that efficient leadership different level of statistical significance .05 and the quality of the different studies. The level of statistical significance .01 on the other, no difference.
6. The analysis of comparative data instructional leadership of school administrators by in education at different levels of teaching found that. Overall, is no different. When considering each the main components found that the leadership is effective and the evaluate the quality education, different level of statistical significance .01 on the other, no difference.
7. The development guidelines of instructional leadership of school administrators. The main components contains on average lower than the average overall. Has 4 main the elements were : the field of development of quality education planning, the curriculum development, the atmosphere of school and the personnel development.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 2,742.75 KB |