ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านเหล่าหมี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Promotion of Reading Habit for the Students at Ban Lao Mi School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area
ผู้จัดทำ
รุ่งฤดี อาจวิชัย รหัส 56421229141 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.อนัตตา ชาวนา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการ  ในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านเหล่าหมี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 2) กำหนดแนวทางในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านเหล่าหมี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 3) ติดตามผลการใช้แนวทางในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียน       บ้านเหล่าหมี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วยผู้วิจัยและครูผู้สอนโรงเรียนบ้านเหล่าหมี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 16 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 44 คนและกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริม คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเหล่าหมี จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบบันทึกการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าร้อยละความก้าวหน้า และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.สภาพ ปัญหาและความต้องการในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านเหล่าหมี พบว่า

1.1 สภาพการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้คือ ห้องสมุดโรงเรียนและห้องคอมพิวเตอร์ที่มีความพร้อมในการให้บริการ  แก่นักเรียน โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนเฉพาะการเรียนการสอนที่จัดตามชั่วโมงเรียนปกติของแต่ละชั้นเท่านั้น ส่วนกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่โรงเรียนจัดขึ้นมีจำนวนน้อย

1.2 ปัญหาในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า นักเรียนไม่ให้ความสำคัญกับการอ่าน อ่านไม่ออก อ่านไม่คล่อง ทำให้ไม่ชอบอ่านหนังสือ โรงเรียนขาดการดำเนินงานส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่องและจริงจัง และสื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากกว่าหนังสือ

1.3 ความต้องการในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องการให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น โดยต้องการให้โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนที่หลากหลาย น่าสนใจ โดยบุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

2. แนวทางในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านเหล่าหมี ประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน 3 ระดับ และการนิเทศติดตามให้คำชี้แนะ

3. ผลการติดตามการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านเหล่าหมี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พบว่าการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน สามารถจัดกิจกรรมให้นักเรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านในทางที่ดีขึ้น และทำให้เป็นผู้มีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น   นักเรียนมีระดับนิสัยรักการอ่านหลังได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 3 ระดับสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยนักเรียนมีระดับนิสัยรักการอ่านโดยภาพรวมหลังการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน จากผลการประเมินพฤติกรรม โดยครูและผลการประเมินพฤติกรรมโดยการประเมินตนเองของนักเรียนอยู่ในระดับมากและมากที่สุดตามลำดับ

Abstract

This study aimed at 1) investigating states, problems and needs in the promotion of reading habit of the students at Ban Lao Mi School, 2) designating guidelines on the promotion of reading habit among the students, and 3) monitoring effects of the use of guidelines of promoting reading habit of the students at Ban Lao Mi School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area. The 2-spiral participatory action research with 4 stages used included: planning, action, observation and reflection. The samples consisted of the researcher and 15 teachers of Ban Lao Mi School and 44 informants in the academic year 2014. The target group to be promoted comprised 236 pupils/students from Kindergarten 1- MathayomSuksa 3 of Ban Lao Mi School. Instruments employed were: a form of interview, a questionnaire, a form of evaluation as well as a form of observation. Mean, percentage, Percentage of Progress and standard deviation were applied to analyze data.

Findings were as follows:

1.The states, problems and needs in promoting reading habit for the students of Ban Lao Mi School were:

1.1 The states of the reading habit promotion among the students revealed that the library and a computer room were provided by the school to be ready for service for the students. The school managed the instruction conducive to the reading habit promotion for the students particularly the learning conducted based on regular classes. The extracurricular activities provided seemed to be quite little.

1.2 The problems of promoting reading habit of the students indicated that the students did not pay attention to reading. They could not read or they couldnot read fluently. This made them not be fond of reading. In addition, the school encountered a lack of implementing the reading habit promotion as well as the media technology played a more important role than books at the moment.

1.3 The needs of the reading habit promotion of the students showed that those concerned wanted the students to obtain reading habit at a better level. They wanted the school to conduct the activities in promoting reading habit in diverse and interesting ways in case that those concerned participated in the application of promoting reading habit with continuity.

2.The guidelines of the reading habit promotion among the students at Ban Lao Mi School included a workshop, an application of the students’ reading habit activities an all 3 levels along with the coaching supervision.

3. The effects of monitoring the use of the guidelines on the promotion of reading habit of the students at Ban Lao Mi School found that the workshop made the students gain knowledge, understanding and techniques in implementing the activities in promoting reading habit among the teachers to be able to conduct the activities for the students in order to adjust their behaviors to a better level and make the students become those who obtained reading habit eventually. The students gained reading habit,after the training of reading habit, at the highest level evaluated by the teachers from the effects of behavior evaluation via self-assessment of the students.

คำสำคัญ
นิสัยรักการอ่าน
Keywords
Reading Habit
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,816.76 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 เมษายน 2562 - 12:26:12
View 2611 ครั้ง


^