สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน และ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินแผนพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหา พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ ขาดการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ขาดการศึกษาดูงาน และขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ปฏิบัติและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน ได้แก่ 1) คู่มือในการพัฒนา 2) การระดมสมอง 3) การพัฒนาสื่อสาร 4) การศึกษาดูงาน และ 5) การประชุมเชิงปฏิบัติการ
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการให้บริการความเสมอภาค มี 5 แผน 2) ด้านการให้บริการมีความเพียงพอ มี 4 แผน 3) ด้านการให้บริการแบบตรงต่อเวลา มี 4 แผน 4) ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง มี 3 แผนและ 5) ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า มี 2 แผน และองค์ประกอบของแนวทางการพัฒนา ได้แก่ 1) ชื่อแผนการพัฒนา 2) หลักการและเหตุผล 3) วัตถุประสงค์ 4) กลุ่มเป้าหมาย 5) ตัวชี้วัด 6) งบประมาณ 7) หน่วยงานที่รับผิดชอบ 8) แผนดำเนินการ และ 9) การวัดและประเมินผล
3. การประเมินแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการขององค์กรเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เชโน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.14, S.D. = .78)
The purposes of this study were: 1) to investigate the problem state and guidelines for developing the Competency of personnel in service providing of Savan-Seno Special Economic Zone Authority, 2) to create plans for developing the Competency of personnel in service providing of Savan-Seno Special Economic Zone Authority, and 3) to assess plans for developing the Competency of personnel in service providing of Savan-Seno Special Economic Zone Authority. The target group included 45 people. The instruments used in data collection were a structured interview guide and a form for assessing development plans. Statistics used in data analysis were: percentage, mean, and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The problem state of Competency of personnel in service providing of Savan-Seno Special Economic Zone Authority in each aspect found that most of them lacked knowledge and understanding of the job they did, lacked the continuous training, lacked study visits, and lacked learning exchanges in job practice and plans for developing the potential of personnel in service providing of Savan-Seno Special Economic Zone Authority, Savannakhet province. Therefore what should be done was as follows: making a development manual, 2) brainstorming, 3) developing communication, 4) study visits, and 5) doing a workshop.
2. Guidelines for creation of plans for developing the Competency of personnel in service providing of Savan-Seno Special Economic Zone Authority, Savannakhet province, Lao People Democratic Republic from the brainstorming among experts included 5 aspects; 1) equal service delivery comprising 5 plans, 2) adequate service, comprising 4 plans, 3) service punctuality, comprising 4 plans, 4) continuous service, comprising 3 plans, and 8) progressive service, comprising 2 plans. The development plans consisted of: 1) title of development plan, 2) rationale, 3) objectives, 4) target group, 5) indicators, 6) budget, 7) responsible agency, 8) action plan, and 9) measurement and evaluation.
3. The assessment result of guidelines for developing the Competency of personnel in service providing of Savan-Seno Special Economic Zone Authority, Savannakhet province, Lao People Democratic Republic was at high level ( = 4.14, S.D. = .78).