สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและสภาพการปฏิบัติภาวะผู้นำครูทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำครูทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้และ 3) เพื่อหาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำครูทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาโปรแกรม และระยะที่ 3 การหาประสิทธิผลของโปรแกรม
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบ ภาวะผู้นำครูทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี 2) ด้านการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ 4) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและการประเมินผล 5) ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสภาพการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. โปรแกรมการพัฒนา ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) ความมุ่งหมาย และ 3) โครงการ ซึ่งมี 2 โครงการ คือ 3.1) โครงการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้และ 3.2) โครงการเพิ่มศักยภาพครูสู่ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ 4) กระบวนการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล
3. การหาประสิทธิผลของโปรแกรม จากการทดลองใช้โปรแกรมภาคสนามกับครูโรงเรียนโพนแพง (เจียรวนนท์อุทิศ 5) ตำบลโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
3.1 การทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ หลังการพัฒนาโปรแกรมสูงกว่าพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนทดสอบความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาตามโปรแกรม
3.2 การประเมินความสามารถการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยครูมีความสามารถการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา โดยรวมและทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาตามโปรแกรมสูงกว่าก่อนการพัฒนา
3.3 การประเมินปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำครูทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยครูมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และพิจารณาเป็นรายด้านมีปฏิกิริยาตอบสนองอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกระบวนการ ด้านผลที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการด้านสภาพแวดล้อมและสื่อประกอบ และด้านเนื้อหา
The purposes of this research were to: 1) explore the components and the performance conditions in terms of teacher Leadership in Information Technology for instructional management in the Educational Opportunity Expansion Schools in the Northeastern region; 2) construct the program for developing teacher leadership in Information Technology for instructional management; and 3) find out the effectiveness of the developed program. This research was performed in three phases: Phase I started with the investigation of conditions and needs; Phases II concerned the program construction and development; and Phase III was related to identifying the program effectiveness.
The findings were as follows:
1. The components of teacher leadership in Information Technology for instructional management in the Educational Opportunity Expansion Schools in the Northeastern region comprised: 1) Having a vision of technology integration, 2) Utilizing Information Technology for instructional design; 3) Utilizing Information Technology for instructional management; 4) Utilizing Information Technology for evaluation and measurement; and 5) Ethical use of technology. In addition, the current performance Conditions as a whole were rated at a high level.
2. The developed program involved: 1) principles, 2) objectives, 3) Project activity packages comprising two projects: 1) Leadership enhancement on Information Technology for instructional management; and 2) Teacher potential improvement toward leadership of Information Technology for instructional management, 4) Development process, and 5) Measurement and evaluation.
3. The effectiveness of the developed program drawn from the Program implementation conducting with teachers in Banphonphang (Chirawanonuthit 5) school, Pho Phisan sub-district, Kusuman district, Sakon Nakhon province under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, revealed that:
3.1 Teachers gained a higher level of knowledge than that of the pre-implementation stage at a statistical significance of the .01 level.
3.2 Teachers as a whole and each aspect were able to incorporate knowledge they have learned in their practice at a statistical significance of the .01 level. The mean scores of the post-implementation were higher than those of the pre-implementation.
3.3 Teachers rated their reflection toward the developed program as a whole at a high level. When considering in each aspect, the mean scores were rated at a high level and descending from high to low as follows: the implementation process, the outcome of an implementation effort, the environment and materials, and the contents.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 14,403.49 KB |