ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 11
Development of Teacher Leadership Development Model in Instructional Management Based on the Principles of Sufficiency Economy Philosophy in Secondary Schools under the Regional Education Office No. 11
ผู้จัดทำ
สิริกร ไชยราช รหัส 56620248117 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน สรุปผลและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 มี 5 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 65 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การเป็นครูผู้นำแบบอย่างความพอเพียง มี 3 องค์ประกอบย่อย 15 ตัวบ่งชี้ 2) การบริหารจัดการเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อย 14 ตัวบ่งชี้ 3) การพัฒนาตนเองและเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้อื่น มี 2 องค์ประกอบย่อย 10 ตัวบ่งชี้ 4) การเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 2 องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้ และ 5) การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้มี 2 องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ และ 5) การวัดและประเมินผล

3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมโดยรวม ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine the components of teacher leadership in instructional management based on the principles of Sufficiency Economy Philosophy (PSEP) in secondary schools under the Regional Education Office No. 11; 2) develop a teacher leadership development model in instructional management based on based on PSEP in secondary schools, and 3) validate the appropriateness of the developed model. The research employed the Research and Development (R&D) approach, which was performed in two phases: Phase I: Component Investigation. This phase was related to investigating the components of teacher leadership in instructional management based on PSEP through document inquiries, and in-depth interviews of five experts. The found components were also confirmed by interviews of 11 experts; Phase II: Model Construction and Development. The interview of nine experts was conducted to ensure appropriateness of the developed model.  Data summary and presentation were also included. The research instruments were a structured interview form, an assessment form concerning teacher leadership on instructional management based on PSEP. Data were analyzed through frequency, mean and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The components of teacher leadership on instructional management based on PSEP in secondary schools under the Regional Education Office No. 11 involved five components with 12 sub-components and 65 indicators: 1) Being self-sufficient role model with three sub-components and 15 indicators; 2) instructional Administration with three sub-components and 14 indicators; 3) Self Development and Mentoring Others with two sub-components and 10 indicators; 4) Being a Transformation Leader Teachers with two sub-components and 13 indicators; and 5) Building Learning Networks with two sub-components and 13 indicators.

2. The model for teacher leadership development in instructional management based on PSEP involved six main components: 1) principles, 2) objectives, 3) contents 4) development processes, and 5) measurement and evaluation.

3. The appropriateness of the developed model as validated by nine experts as a whole was at the highest.

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ, ภาวะผู้นำครู, การจัดการเรียนรู้, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Keywords
Model Development, Teacher Leadership, Instructional Management, Philosophy of Sufficiency Economy
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 22,889.14 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 เมษายน 2562 - 11:43:04
View 1834 ครั้ง


^