ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Causal Relationship Model of Factors Influencing Student Life Skills in Schools under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeastern Region of Thailand
ผู้จัดทำ
อรอนงค์ แสนคำ รหัส 56632233108 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียน  2) ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ทรงคุณวุฒิและการศึกษาโรงเรียนดีเด่น ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่ามีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .27-.86 ดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูแนะแนว และครูประจำชั้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และใช้โปรแกรม LISREL version 8.72 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การอบรมเลี้ยงดู บรรยากาศในชั้นเรียน อัตมโนทัศน์ของนักเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ส่วนทักษะชีวิตนักเรียนประกอบด้วย ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง การคิดการตัดสินใจและแก้ปัญหา การจัดการอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ χ2=18.85, df =44, p-value=.99, χ2/df=0.42, RMSEA=0.00, GFI=1.00, AGFI=0.98, Largest Standardized Residual=1.93 ค่าอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดลำดับดังนี้ อิทธิพลทางตรง พบว่า อัตมโนทัศน์ของนักเรียน มีอิทธิพลทางตรงที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ บรรยากาศในชั้นเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน อิทธิพลทางอ้อม พบว่า อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน มีอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียน มากที่สุด รองลงมาคือ การอบรมเลี้ยงดู และบรรยากาศในชั้นเรียน อิทธิพลรวม พบว่า บรรยากาศในชั้นเรียน มีอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียน มากที่สุด รองลงมาคือ อัตมโนทัศน์ของนักเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดู เมื่อพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) ของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียน พบว่า อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การอบรมเลี้ยงดู บรรยากาศในชั้นเรียน อัตมโนทัศน์ของนักเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  สามารถร่วมกันอธิบายทักษะชีวิตนักเรียนได้ร้อยละ 79

Abstract

The objectives of this study were: 1) to develop a causal relationship model of factors influencing student life skills and 2) to verify the developed causal relationship model of factors influencing student life skills in schools under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeastern region of Thailand with the empirical data. The study was divided into 2 phases. The first phase was the building of research conceptual framework by an analysis of relevant documents and researches, an interview with experts and a study of outstanding schools. The second phase was the verification of research hypothesis. Data were collected by using a rating scale questionnaire with discrimination power between .27- .86, IOC value between .60 - 1.00 and the overall reliability value at .97. The samples comprised school directors, guidance teachers, and room teachers advisors in schools under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeastern region of Thailand. Data analysis was conducted to determine the frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. LISREL software version 8.72 was employed in the analysis of confirmatory factors and the examination of goodness –of- fit between the hypothesis model and empirical data.

The findings were as follows: 

1. The developed causal relationship model of factors influencing student life skills in schools under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeastern region of Thailand comprised (1) peer group influence, (2) parenting, (3) classroom atmosphere, (4) self-concepts of students and (5) achievement motivation. Student life skills consisted of (1) awareness and self-esteem, (2) thinking, decision-making and problem-solving, (3) emotional and stress management and (4) relationship building.

2. The developed model showed goodness-of-fit with the empirical data, with the statistics as follows: χ2 = 18.85, df = 44, p-value = .99, χ2/df = 0.42, RMSEA = 0.00, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, Largest Standardized Residual = 1.93. The importance of each factor which had the influence on student life skills in schools under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeastern region of Thailand could be arranged from the highest to lowest as follows: (1) direct effect: self-concepts of students, classroom atmosphere and achievement motivation; (2) indirect effect: peer group influence, parenting and classroom atmosphere; (3) overall effect: classroom atmosphere, self-concepts of students, achievement motivation, peer group influence and parenting. When considering coefficient of determination value (R2) of the aforementioned factors, it was found that peer group influence, parenting, classroom atmosphere, self-concepts of students and achievement motivation could altogether explain student life skills at 79 percent.

คำสำคัญ
ทักษะชีวิตนักเรียน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,789.20 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:22:17
View 552 ครั้ง


^