สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาโรงเรียนดีเด่น จำนวน 1 โรงเรียน และนำร่างกรอบแนวคิดการวิจัยไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พิจารณา ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.50-0.98 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 275 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีทั้งหมด 3 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ โครงสร้างพื้นฐาน การยกย่องและให้รางวัล วัฒนธรรมองค์กร บุคคลและชุมชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ การกำหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การสร้างความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ และ 3) เป้าหมายของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย คุณภาพงาน คุณภาพคน และองค์กรแห่งการเรียนรู้
2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก
The objective of this study was to develop and assess the appropriateness of the developed knowledge management model in educational opportunity expansion schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Office Area 3. The study was conducted in 2 phases. The first phase was model development, constructed by studying relevant concepts, theories and documents, as well as conducting a case-study in one best practice school. The draft research framework received close consideration from 5 experts. The second phase was model appropriateness assessment. Data collection was carried out by using a 5-level rating scale questionnaire with discrimination power between 0.50 - 0.98 and reliability value at 0.98. The sample group comprised 275 school directors and teachers in educational opportunity expansion schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Office Area 3, selected through multi-stage random sampling. The tools in this study were interview form and questionnaire. Statistics employed in data analysis were percentage, mean, and standard deviation.
The study yielded the following results:
1. The developed knowledge management model in educational opportunity expansion schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Office Area 3 comprised 3 components, namely 1) success factors on knowledge management: leadership, infrastructure, praises and rewards, organizational culture, individuals and community, and information technology; 2) knowledge management process, which consisted of 7 steps: knowledge identification, knowledge acquisition, knowledge sharing, knowledge codification and refinement, knowledge organization, knowledge creation and knowledge use; 3) knowledge management goals: quality work, quality people and learning organization.
2. The appropriateness assessment result of the developed model in an overall was at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,765.18 KB |