ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
แนวทางส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
Guidelines on Enhancing Desirable Digital Age Librarians’ Professional Competencies of Rajamangala University of Technology Isan
ผู้จัดทำ
นันธิดา พรมวงค์ รหัส 57425117101 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชา วิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ ชาวชายโขง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2) ศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ที่พึงประสงค์ ในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มผู้ให้บริการของทั้ง 4 วิทยาเขต จำนวน 39 คน และผู้รับบริการ 397 คน และใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้บริหารห้องสมุด บรรณารักษ์ และนักเอกสารสนเทศ จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า

สภาพปัจจุบันของสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พบว่า สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ระยะ 4 ปี แต่ในส่วนของแผนกงานในระดับวิทยาเขตยังไม่พบการจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เทคโนโลยี ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการบริการห้องสมุด เช่น ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (OPAC) ระบบยืน-คืนอัตโนมัติ ระบบรับชำระค่าปรับอัตโนมัติ เป็นต้น มีการกำหนดสมรรถนะในภาพรวมของมหาวิทยาลัยเพื่อประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ แต่ยังไม่มีการกำหนดสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งบรรณารักษ์ เป็นการกำหนดลักษณะความรับผิดชอบงานของแต่ละตำแหน่งตามเอกสารประกอบการบรรยายลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (JD/JS : Job Description & Job Specification) และกำหนดดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน (KPI : Key Performance Indicator) บทบาทหน้าที่ของบรรณารักษ์จะเป็นหน้าที่พื้นฐานทางวิชาชีพบรรณารักษ์ เช่น งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานวิเคราะห์หมวดหมู่ งานลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในระบบฐานข้อมูล งานบริการ เป็นต้น

ความต้องการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ พบว่าต้องการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ การวิจัย ภาษา การฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน และต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่าเป็นปัญหาในเรื่องของจำนวนบรรณารักษ์ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ มีการโยกย้าย ลาออก ไม่มีตำแหน่งเพิ่มและปัญหาในเรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์ชำรุดแล้วไม่สามารถให้บริการต่อได้

สมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พบว่า ผู้ให้บริการ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในภาพรวมสมรรถนะทุกด้านอยู่ในระดับมาก (ar{x}  = 4.16) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล (Attribute) (ar{x}  =4.21) รองลงมาคือ สมรรถนะด้านทักษะ (Skills) (ar{x}  = 4.15) และสมรรถนะด้านความรู้ (Knowledge) (ar{x}  = 4.14) ตามลำดับ ผู้รับบริการ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในภาพรวมสมรรถนะทุกด้านอยู่ในระดับมาก (ar{x}  = 3.90) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล (Attribute) (ar{x}  = 3.96) รองลงมาคือ สมรรถนะด้านทักษะ (Skills) (ar{x}  = 3.89) และ สมรรถนะด้านความรู้ (Knowledge) (ar{x}  = 3.88) ตามลำดับ

การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ให้บริการและผู้รับบริการที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พบว่า สมรรถนะทั้ง 3 ด้านในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

สมรรถนะทางวิชาชีพที่ควรส่งเสริมการพัฒนาฯ ในยุคดิจิทัล มี 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความรู้ (Knowledge) ได้แก่ ความรู้และเข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการทรัพยากรสารสนเทศและความรู้และเข้าใจวิธีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ 2) ทักษะ (Skills) ได้แก่ การใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานและบริการผู้ใช้ การใช้สื่อออนไลน์ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่คอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และสามารถจัดหา คัดเลือก วิเคราะห์ จำแนกหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศและบันทึกลงฐานข้อมูลของระบบห้องสมุด และ 3) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล (Attribute) ได้แก่ การเปิดใจรับรู้และเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ เข้าใจและยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและความท้าทายใหม่ๆ และสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์และการมีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน

แนวทางที่ควรส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะ แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง ดังนี้ 1) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะต่อบรรณารักษ์ ได้แก่ การฝึกอบรม การศึกษา ดูงาน การประชุม/สัมมนาทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยสังคมออนไลน์ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยสมรรถนะที่จะส่งเสริมควรพิจารณาตามคุณลักษณะของบรรณารักษ์ หรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับห้องสมุด เช่น อายุการทำงาน และสาขาวิชา เป็นต้น  และ 2) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาต่อองค์กร ได้แก่ จัดสรรอัตรากำลังของบรรณารักษ์ให้เหมาะสม จัดสรรทรัพยากรสารสนเทศให้มีความเพียงพอ และจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัย

Abstract

The purposes of this research were 1) to investigate the current condition of professional competencies of librarians who worked at Rajamangala University of Technology Isan, 2) to study professional competencies of desirable Digital Age librarians of Rajamangala University of Technology Isan, 3) to gain guidelines on enhancing professional competencies of desirable Digital Age librarians of Rajamangala University of Technology Isan. The questionnaires and semi-structured interview forms were employed as the research instruments. The questionnaires were sent to be responded by 39 service providers and 397 service users in 4 campuses. At the same time, semi-structured interview forms were used to get the information from 21 library administrators, librarians, and information officers/specialists. Quantitative data collected from the questionnaires was statistically analyzed by using percentage, mean, frequency, standard deviation and t –test.

The study revealed the following results: 

Regarding the current condition of Rajamangala University of Technology Isan librarians’ professional competencies, it was found that four- year-strategic plan was created by the Academic Resources and Information Technology Institutes. Nevertheless, no personnel/human resources development plan had been made at the campuses. Modern technologies such as online public access catalogue (OPAC), automated circulation system, automated system for paying fines were provide, though. Still, although the overall competencies of the university personnel had been established to evaluate how well the personnel perform their duties, these capacities were not specifically set for the librarians. Nevertheless, the job description, job specifications, key performance indicators were specified for the librarians’ basic roles which included developing  information technology resources, classifying and analyzing categories, keying the information in the database system, providing services, etc.

Of the needs to develop professional competencies of the librarians, it was found that the respondents would like to take part in seminars, training courses or study trips to improve their professional skills, research capacity, and language. Some wanted to further their education in the higher levels. The problems concerning library services had been unveiled; the inadequacy of the librarians caused by transferring, quitting, or no openings to recruit new librarians. In addition, some tools and machines were broken and they had never been repaired.

About the professional competencies of desirable Digital Age librarians of Rajamangala University of Technology Isan, the study manifested that the service providers perceived that as a whole all aspects of professional competencies were at the high levels (ar{x} = 4.16). When considering each aspect, these results were ranked from the highest to the lowest by the service providers: personal attributes (ar{x}  = 4.21), skills (ar{x}  = 4.15), and knowledge (ar{x} = 4.14).  As for the service users, they viewed that the professional competencies of desirable Digital Age librarians of Rajamangala University of Technology Isan, as a whole, were at the high levels (ar{x}  = 3.90). When considering each aspect, these results were ranked from the highest to the lowest by the service users: personal attributes (ar{x}  = 3.96), skills (ar{x}  = 3.89), and knowledge (ar{x}  = 3.88).

When comparing the service providers and users’ opinions on professional competencies of desirable Digital Age librarians of Rajamangala University of Technology Isan, it was found that the service providers and service users, in compliance with the set hypotheses, had significantly different opinions on  all three aspects of  librarian’s professional competencies at 0.05 statistical levels.

Three aspects of professional competencies of Digital Age librarians should be promoted. They consisted of knowledge, skills, and personal attributes. Knowledge and comprehension of systematically managing information resources should be installed. Skills of employing the internet or online media to work and serve library users well should be trained. Modern technology, computer programs must be suitably adopted so that the library officers can give, select, analyze, categorize the information and record it in the database systems of the libraries. Library staff or library persons should possess these attributes: being open-minded so that they can understand the situations and accept any changes or challenges; being easily or quickly adjustable to the situations, and having clear guidelines on performing their jobs.

Two main guidelines had been obtained for enhancing their competencies. 1) To promote the librarians’ competencies, training courses, study trips, meetings, academic seminars, online learning/conversations and higher education should be provided. Work experiences/duration of work, and fields of work must be used for considering who should undergo the suggested competency development program. 2) To promote the organizational development, provision of adequate number of librarians, sufficient information resources and modern technology had been recommended.

คำสำคัญ
การพัฒนาทางวิชาชีพ, สมรรถนะบรรณารัก, บรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
Keywords
Professional development, competencies of librarians, librarians in Digital Age, Rajamangala University of Technology Isan
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 136.21 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 246.11 KB
3 ประกาศคุณูปการ 59.58 KB
4 บทคัดย่อ 161.77 KB
5 สารบัญ 210.60 KB
6 บทที่ 1 203.81 KB
7 บทที่ 2 1,694.89 KB
8 บทที่ 3 288.39 KB
9 บทที่ 4 1,992.63 KB
10 บทที่ 5 432.75 KB
11 บรรณานุกรม 237.55 KB
12 ภาคผนวก ก 365.58 KB
13 ภาคผนวก ข 398.50 KB
14 ภาคผนวก ค 405.29 KB
15 ภาคผนวก ง 622.95 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 102.64 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2562 - 14:13:08
View 1583 ครั้ง


^