ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
A Model of School Administration Based on the Principles of Sufficiency Economy for Small-Sized Secondary Schools in the Northeast Thailand
ผู้จัดทำ
ธีรพงศ์ แสนยศ รหัส 57620248108 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, รองศาสตราจารย์ ดร.หาญชัย อัมภาผล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนประกอบด้วย วิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มทั้ง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารทั่วไป ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 271 โรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 271 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ จำนวน 271 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ จำนวน 271 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล จำนวน 271 คน และหัวหน้ากลุ่มบริหารทั่วไป จำนวน 271 คน รวม 1,355 คนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 297 คนโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระยะที่ 2 การร่างและสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย การร่างรูปแบบตรวจสอบร่างรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญการสร้างและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ระยะที่ 3 การยืนยันรูปแบบโดยการสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion)วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย  พบว่า  

1. องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย และ 40 ตัวบ่งชี้ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ด้านการบริหารวิชาการ องค์ประกอบหลักที่ 2 ด้านการบริหารงบประมาณ องค์ประกอบหลักที่ 3 ด้านการบริหารงานบุคคล และองค์ประกอบหลักที่ 4 ด้านการบริหารทั่วไป ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบหลัก มี 6 องค์ประกอบย่อย คือ 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล 3) มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 4) เงื่อนไขความรู้ 5) เงื่อนไขคุณธรรมและ6) มิติ 4 ด้าน (วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม)

2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) เอกสารประกอบการพัฒนา 4) กระบวนการของรูปแบบ และ 5) การติดตามผลและประเมินผล

3. ผลการหาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า

3.1 ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนและคู่มือ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

3.2 ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ในการจัดสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อย พบว่า รูปแบบการบริหารและคู่มือการใช้ โดยรวมมีความเป็นประโยชน์และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine the components, indicators of school administration based on the principles of sufficiency economy for small-sized secondary schools in the Northeast Thailand; 2) construct and develop a model, 3) find out the effectiveness of the developed model. The research methodology employed a Research and Development (R&D) approach which was divided into three phases: Phase I Component Investigation through document analysis and a survey. The population and samples were school administrators and heads of four departments, namely academic affairs, financial administration, personnel administration, and general administration, from the small-sized secondary schools in the Northeast Thailand. The samples, obtained through Krejcie and Morgan’stable, were drawn from 271 schools with a total of 1,355 people comprising 271 school administrators, 271 heads of academic affairs, 271 heads of financial administration, 271 heads of personnel administration, and 271 heads of general administration.  The instrument for data collection was a set of a five-point rating scale questionnaire. The statistical analysis involved frequency, percentage, means and standard deviation. Phase II Model Drafting and Construction was related to model drafting and examination by experts. The nine experts took part in the model confirmation procedure. Phase III Model Confirmation was done through the focus group discussion. The statistics used for data analysis were means and standard deviation.  

The findings were as follows:

1. The components of administration for small-sized secondary schools, based on the principles of sufficiency economy, comprised four major components with 20 sub-components and 40 indicators. The major components fell into four aspects: academic administration, financial administration, personnel administration, and general administration. The six sub-components involved: 1) moderation; 2) reasonableness; 3) self-immunity; 4) knowledge condition; 5) ethics and virtues condition; and four impacts (material, society, environment and culture).

2. The developed model comprised five components: 1) principles, 2) objectives, 3) documentation, 4) procedures, and 5) monitoring and evaluation.

3. The effectiveness of the developed model revealed that:

3.1 The developed model, assessed and confirmed by experts in terms of both the school administration model and the instruction manual, was rated as a whole at the highest level.

3.2 The appropriateness of the model was also confirmed through the focus group discussion for its usefulness and possibilities. It was found that the developed model was rated as a whole at the highest level.

คำสำคัญ
รูปแบบการบริหาร, การบริหารของโรงเรียน, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 28,537.04 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 กุมภาพันธ์ 2561 - 13:34:37
View 883 ครั้ง


^