สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปรากฏการณ์สภาพนิเวศวิทยา นิเวศวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวที่ปรากฏอยู่ป่าสงวนแห่งชาติหนามหน่อในปัจจุบัน 2) ผลกระทบเชิงนโยบายภาครัฐและเงื่อนไขการเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและ 3) นำเสนอกลยุทธ์การบริหารการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลุ่มเป้าหมาย 58 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคการท่องเที่ยว และภาคการจัดตั้งสากล เป้าหมาย 15 คน โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ เลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและอธิบายเนื้อหาแบบพรรณาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันในเขตป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ มีลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่น ได้แก่ ชีวนานาพันธุ์แม่น้ำเซบั้งไฟ ภูเขาหินปูนและสัตว์ป่าที่หลากหลายชนิด ด้านสังคมและวัฒนธรรมมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท โย้ยและกะเลิง ลุ่มชาติพันธุ์มอญ-ขะแม กลุ่มชาติพันธุ์มะกอง ตรีชน กลุ่มชาติพันธุ์ผสม-ง่อน, สะลางและอื่น ๆ สำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในป่าสงวนแห่งชาติ เช่น การเดินสำรวจถ้ำ ปั่นจักรยาน และการขับขี่ รถ มอเตอร์ไซค์ การเรียนรู้วิถีชีวิตท้องถิ่นและการดำรงชีวิตคนกับป่าและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอนาคต
2. ผลกระทบเชิงนโยบายภาครัฐและเงื่อนไขการเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้แก่ ขาดการประสานเชื่อมโยงระหว่างองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง กระบวนการมีส่วนร่วมและบุคลากรมีไม่เพียงพอ
3. ข้อเสนอกลยุทธ์การบริหารการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายเอกชนมาลงทุน กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนภาครัฐ และเอกชนเข้าร่วมประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะ ให้บุคลากรมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและมรดกโลก กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาด้านพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และกลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนการสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวและข้อเสนอแนะ
The purposes of this study included the following: 1) to investigate the ongoing phenomenon of the ecology, cultural ecology, and tourism which took place in Hinnamnor National Protected Area, 2) to explore the effects of the government policies and the conditions for becoming the world natural heritage site, and 3) to present development administration strategies for ecotourism. The target group consisted of 58 participants who underwent in-depth interviews. These participants belonged to the government sector, people sector, tourism sector, and international establishment sector. Another group of 15 participants had to attend the workshop. These participants had been obtained through purposive sampling technique. The instruments used for data collection and analysis were the structured interview and descriptive forms.
The study revealed these results:
1. At present, Hinnamnor National Protected Area contains its unique and outstanding physical features encompassing biodiversity, Xebangfai River, limestone mountains, and various kinds of wild animals. Pertaining to the socio-cultural aspects, Hinnamnor National Protected Area is inhabited by many ethnic groups such as Phu Th ai, Yoiy, Kaleung, Mon-Khamer, Makong, Tri, Ngon, Salang, etc. As for the ecotourism, the activities launched at the place included cave exploring, cycling, motorbike riding, experiencing/learning the life styles of the locals and forest dwellers as well as studying how to sustainably use the natural resources.
2. These effects of the government policies and the conditions for becoming the world natural heritage site were discovered: the lack of efficient coordination among the organizations, the lack of consistent public relations, inadequate participation and insufficient personnel.
3. These development administration strategies for ecotourism were obtained: creating network from the private sector in order to get the investment, attaining promotion and support from the government sector, getting help from the private sector to do the public relations, empowering and supportting the personnel/staff to have more experience/expertise concerning tourism and world heritage, developing the area to become suitable for ecotourism, promoting the study of the effects of ecotourism development, endorsing the exploration for tourism resources and providing recommendations.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 112.28 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 382.10 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 70.31 KB |
4 | บทคัดย่อ | 127.80 KB |
5 | สารบัญ | 181.41 KB |
6 | บทที่ 1 | 298.20 KB |
7 | บทที่ 2 | 685.19 KB |
8 | บทที่ 3 | 179.26 KB |
9 | บทที่ 4 | 8,604.54 KB |
10 | บทที่ 5 | 579.63 KB |
11 | บรรณานุกรม | 217.79 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 270.90 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 218.10 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 92.39 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 2,056.32 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 87.63 KB |