สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามแนวคิดของ Williams และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ต่อการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามแนวคิดของ Williams และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ต่อการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตคริสเตียนวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยมีความคิดสร้างสรรค์หลังจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.53, S.D. = 0.89)
The purposes of this research were to: 1) compare the creative thinking of preschool children before and after learning through the creative art activities based on Williams’ concept, and 2) determine preschool children’s satisfaction toward the creative art activity organization. The samples, selected through a cluster random sampling, were 20 students in kindergarten level 3 in the Global English School in Nonthaburi Province under the Office of the Private Education Commission, in the second semester of the academic year of 2018. The research instruments included: 1) lesson plans, 2) a creative thinking test, and 3) a set of satisfactory questionnaires. The statistics for data collection were mean, percentage, standard deviation and Dependent Samples t-test.
The findings were as follows:
1. The preschool children’s creative thinking after the intervention was higher than that of before the intervention at the .01 level of statistical significance.
2. The preschool children’s satisfaction toward the creative art activity organization as a whole was at a high level with mean scores ( ) of 2.53, S.D. = 0.89
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,532.29 KB |