ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนวิถีธรรมแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Needs Assessment for Life Skills Development Guidelinesfor Primary School Students at Vithidham School Sakon NakhonRajabhat University
ผู้จัดทำ
โดมฤทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร รหัส 58421228105 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ดร.พจมาน ชำนาญกิจ, รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับทักษะชีวิตของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนวิถีธรรมแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) เปรียบเทียบความคาดหวังเกี่ยวกับทักษะชีวิตของนักเรียนระหว่างผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพต่างกัน 3) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับทักษะชีวิตของนักเรียน 4) เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับทักษะชีวิตของนักเรียนระหว่างผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพต่างกัน 5) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน และ 6) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน โดยที่ทักษะชีวิต แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 2) ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และ 4) ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น กลุ่มตัวอย่าง 312 คน ประกอบด้วย นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนวิถีธรรมแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 138 คน  ผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 138 คน และ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความคาดหวังเกี่ยวกับทักษะชีวิตของนักเรียน จำนวน 3 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified การวิเคราะห์ค่าทีชนิดสองกลุ่มอิสระกัน (Independent Samples t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ความคาดหวังเกี่ยวกับทักษะชีวิตของนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้ตอบทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียน กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มครูและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ความคาดหวังเกี่ยวกับทักษะชีวิตของนักเรียนในภาพรวม ตามความคิดเห็นของผู้ตอบทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีก 2 ด้าน ไม่แตกต่างกัน

 3. สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับทักษะชีวิตของนักเรียนตามความคิดเห็นของทั้งกลุ่มนักเรียน และกลุ่มผู้ปกครอง พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

4. สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับทักษะชีวิตของนักเรียนในภาพรวม ตามความคิดเห็นของกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ปกครองไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอีก 2 ด้าน ไม่แตกต่างกัน

5. ดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมีค่าเป็นบวกทั้งในภาพรวมและรายด้าน แสดงว่า ทักษะชีวิตของนักเรียนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามสภาพที่คาดหวัง โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด 2) ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น และ 4) ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

6. แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน มีหลากหลายแนวทาง อาทิ 1) ควรบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ 2) เสริมการจัดการห้องเรียน และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 3) ฝึกให้นักเรียนรู้จักจัดการกับอารมณ์และจิตใจของตนเองด้วยเทคนิคที่หลากหลายทั้งในและนอกชั้นเรียน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยครูจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง (Coaching) และ 4) สร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกันทั้งที่บ้านและโรงเรียน

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine the expectations concerning life skills of primary school students at Vithidham School of Sakon Nakhon Rajabhat University, 2) to compare the expectations concerning students’ life skills as perceived by participants with different status, 3) to explore the current conditions concerning students’ life skills, and 4) to compare current conditions of students’ life skills as perceived by participants with different status, 5) to assess the needs for developing students’ life skills, and 6) to establish the guidelines for developing students’ life skills, which were divided into four aspects: 1) self-awareness and empathy, 2) creative critical thinking, decision-making, and problems-solving, 3) emotion and stress management, and 4) building good interpersonal skills. The sample consisted of 312 participants, including 138 primary school students studying at Vithidham School Sakon Nakhon Rajabhat University in the academic year 2019, 138 parents, and 36 teachers and members of basic education school board. The instruments were three sets of questionnaires concerning current conditions and expectations on students’ life skills, an interview form about the guidelines for developing students’ life skills. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, PNImodified, Independent Samples t-test, and One-Way ANOVA.

The findings were as follows:

1. The expectations concerning students’ life skills as perceived by participants, as a whole and each aspect were at a high level.

2. The expectations toward students’ life skills as perceived by participants were statistically significant different at the .05 level. When considering in each aspect, there was statistically significant difference at the .05 level in terms of building good interpersonal skills, meanwhile there were not different in other two aspects.

3. The current conditions on student life skills as perceived by students and parents as a whole were at a high level in overall and each aspect.

4. The current conditions on student life skills as perceived by students and parents were not different. When considering in each aspect, the aspects of creative critical thinking, decision making and problem solving were statistically significant different at the .05 level. In terms of emotion and stress management, there was statistically significant difference at the .05 level. The other aspects showed no difference.

5. The need identification for developing students’ life skills was positive in overall and each aspect. The students’ life skills needing improvement in accordance with the expectations were ranked in descending order: 1) emotion and stress management, 2) creative critical thinking, decision making, and problem solving,

3) building good interpersonal skills, and 4) self-awareness and empathy.

6. The guidelines for developing students’ life skills should include: 1) Integration of a project-based learning management with other teaching and learning approaches, 2) Enhancement of classroom management and effective communication, 3) Provision of opportunities for students to learn how to cope with individual emotion and stress through various techniques both in and outside the classroom. Through this process, cooperative learning process should be implemented under teacher coaching, and 4) Creating supportive learning environment so as to facilitate educational harmony between home and school.

คำสำคัญ
ทักษะชีวิต , การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
Keywords
Life Skills, Need Analysis
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,406.49 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มิถุนายน 2563 - 23:20:23
View 1038 ครั้ง


^