สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ ระหว่างปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนกับความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 327 คน โดยใช้การคำนวณจากตารางของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นมาตราส่วนประมาณค่าประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่าง กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระกัน (t-test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ความสำเร็จของการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์การทำงานและขนาดของโรงเรียน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนผู้ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนจำแนกตาม เพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียนพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนผู้ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์กับความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุขมีอำนาจพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุขไว้ด้วย
The purpose of this research was to compare, examine the relationship, and find out the predictive power between the emotional quotient factors of administrators and the administration success in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2, as perceived by school administrators and teachers; and to establish the guidelines for developing emotional quotient factors. The size of the samples was determined using the Krejcie and Morgan’s Sample Size Estimation Table. The samples involved in the study were 327 people comprising school administrators and teachers. The instrument used for collecting data was a set of a five - point - rating scale questionnaire. Statistics employed to analyze data were percentage, means, standard deviation, t-test t(Independent Samples), One - Way ANOVA, Pearson's Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings of this research were as follows:
1. The emotional quotient factors of school administrators as perceived by school administrators and teachers, as a whole and each aspect, were at a high level.
2. The school administration success as perceived by school administrators, and teachers, as a whole and each aspect were at a high level.
3. The emotional quotient factors of school administrators as perceived by administrators, and teachers classified by gender, work experience and school sizes showed no difference, whereas opinions generated by the samples with different positions were different with the statistical significant level of .01.
4. The school administration success as perceived by administrators, and teachers classified by gender, work experience and school sizes showed no difference, whereas opinions generated by the samples with different positions were different with the statistical significant level of .01.
5. The emotional quotient factors and the school administration success had a positive relationship at the .01 level of significance.
6. The emotional quotient factors of school administrators in terms of being good, smart and happy had a predictive power toward school administration success at the .01 level of significance.
7. The research proposed the guidelines for developing the emotional quotient factors of school administrators in term of being good, smart and happy.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,379.41 KB |