สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดงน้อย อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.25-078 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21-0.50 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.70 แบบวัดทักษะการแก้ปัญหามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่าหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่านักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
The purposes of this study were: 1) to compare learning outcomes of Science subject before and after using problems-based learning approach, 2) to investigate the problem solving skills of students, and 3) to explore students’ opinions towards problems-based learning approach. The target group participated in this study were 20 Primary 2 students in Ban Dong Noi School, Si Songkhram District, Nakhon Phanom Province, in academic year 2017. The instruments used to collect data were lesson plans in Science with a consistency index between 0.80-1.00, an achievement test with consistency index between 0.80-1.00, the difficulty index between 0.25-078, the discrimination index between 0.21-0.50, and the reliability index at 0.70, a problem solving skills test with consistency index between 0.80 -1.00, and a questionnaire for students' opinions on problem-based learning approach with a consistency index between 0.80-1.00. Percentage, mean, standard deviation and t-test were used to analyze the collected data.
The results were:
1) The Primary 2 students’ learning achievement in Science subject after learning using problems-based approach was higher than before learning with statistical significance at .01 level.
2) Problem solving skills the students were totally at moderate level.
3) The students’ opinions towards the problem-based learning approach were totally at moderate level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,587.82 KB |