สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และความต้องการจำเป็น ของการจัดศึกษาแบบทวิศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 จัดทำและตรวจสอบข้อเสนอเชิงกลยุทธ์การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง ความเป็นประโยชน์และมีแนวทางดำเนินงานสู่ความสำเร็จ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงนโยบาย มีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ทางการศึกษา การศึกษาเชิงสำรวจ การศึกษาพหุกรณี ระยะที่ 2 การยกร่างข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ และระยะที่ 3 การประชาพิจารณ์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินกลยุทธ์และแบบสอบถามการประชาพิจารณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบของการจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร และ 5) ด้านภาคีเครือข่ายและความร่วมมือ จำนวนตัวบ่งชี้ 67 ตัวบ่งชี้ ความต้องการจำเป็นโดยรวมจำเป็นทุกด้าน มีค่า PNI Modified เท่ากับ 0.27 โดยองค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านการพัฒนาบุคลากร
2. ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าหมาย 4) ประเด็นยุทธศาสตร์ 5) กลยุทธ์/ตัวบ่งชี้ และ 6) แนวทางการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ ประเด็นยุทธศาสตร์ จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ 12 กลยุทธ์ 35 ตัวบ่งชี้/แนวทางการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความสอดคล้อง มีความเป็นประโยชน์ และมีแนวทางการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยยุทธศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ
The purposes of this research were to examine components, indicators and needs for educational management in dual education in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office (SESAO) 22 and 23, and to develop and validate the proposed strategies for educational management of dual education in secondary schools under the SESAO 22 and 23 in terms of appropriateness, feasibility, congruence, usefulness, and operational guidelines to success. The policy research was conducted in three phases: Phase I- Examining fundamental information through document inquiry, interviews with experts in the field of education, a survey, and multi-case studies; Phase II- Drafting strategic proposals through an expert assessment; and Phase III- Conducting Public hearing with stakeholders. The research instruments consisted of a set of questionnaires, in-depth interview forms, strategy assessment forms, and questionnaires for public hearings. Statistics for data collection were percentage, mean, and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The five components of educational management of dual education in secondary schools under the SESAO 22 and 23 consisted of five aspects with 67 indicators: 1) Administrative management, 2) Teaching and learning management, 3) Curriculum development, 4) Personnel development, and 5) Networking and cooperation. The results of needs assessment showed that overall, the priority needs index (PIN Modified) of all aspects was 0.27. The personnel development reached the highest level of needs.
2. The strategic proposals for educational management of dual education in secondary schools under the SESAO 22 and 23 consisted of five components: 1) visions, 2) missions, 3) goals, 4) strategic issues, 5) strategies/indicators, and 6) operational guidelines to success. The five strategic issues, consisted of 12 strategies, and 35 indicators/operational guidelines to success, achieved the highest level in terms of appropriateness, feasibility, congruence, usefulness, and operational guidelines to success. The strategy on administrative management reached the highest mean scores.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 15,449.36 KB |