สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 3) ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้และ 3) การยืนยันองค์ประกอบและวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้โดยการตอบแบบสอบถามจากครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำนวน 360 คน จาก จำนวน 45 โรงเรียน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 3 การทดลองการใช้รูปแบบภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้โดยการนำไปทดลองใช้ภาคสนามและสรุปผลการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านการเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตร 3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และมีวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ 4 วิธี ดังต่อไปนี้ 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การฝึกปฏิบัติจริง 3) ชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพ (PLC) และ4) การนิเทศ กำกับ ติดตาม
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ มีส่วนประกอบดังนี้คือ หลักการ จุดประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา สื่อ / แหล่งเรียนรู้และการวัดและประเมินผล กระบวนการพัฒนา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การฝึกปฏิบัติจริง 3) ชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพ (PLC) และ 4) การนิเทศ กำกับ ติดตาม โดยทิ้งช่วงห่างหลังการพัฒนา 4 สัปดาห์
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
3.1 พฤติกรรมภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ที่เปลี่ยน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า พฤติกรรมภาวะผู้นำครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าโดยรวม 60.70
3.2 พัฒนาการของภาวะผู้นำครูในการจัดเรียนรู้ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมระยะติดตามกับพฤติกรรมหลังการทดลอง โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 13.92
The purposes of this research were to: 1) examine components of teacher leadership on instructional management in secondary schools under the Regional Education Office No.11, 2) construct and develop a model for developing teacher leadership on instructional management under the Regional Education Office No.11, and 3) validate the effectiveness of the developed model. The three-phase Research and Development approach was utilized: Phase I was based on an investigation of components of teacher leadership on instructional management consisting of three stages: Stage I- Construction of Conceptual Framework, Stage II- Model Investigation, and Stage III- Confirmation of Components and Approaches for Developing Teacher Leadership on Instructional Management. The survey was administered to the samples of 360 teachers from 45 secondary schools under the Regional Education Office No.11. Phase II was related to constructing and developing a model for developing teacher leadership on instructional management. Phase III concerned model implementation and conclusion. The statistics for data analysis were means and standard deviation.
The results were as follows:
1. The components of teacher leadership on instructional management comprised three components: 1) Teachers as change agents, 2) Curriculum development and application, and 3) Instructional management process and approaches for developing teacher leadership on instructional management consisting of four approaches: 1) a workshop, 2) practicing in actual settings, 3) professional learning community (PLC), and 4) supervision and follow-up.
2. The developed model comprised: principles, objectives, contents, development process, media and learning resources, and measurement and evaluation. The development process was divided into four phases: 1) a workshop, 2) practicing in actual settings, 3) professional learning community (PLC), and 4) Supervision monitoring and evaluation. The four-week follow-up period was administered after the model implementation.
3. The effectiveness of the developed model was as follows:
3.1 After the model implementation, teacher leadership behaviors, as a whole, were at a high level ( = 4.21). When considering each component, all components of teacher leadership behaviors were at a high level of mean scores and showed the percentage progress of 60.70.
3.2 The development of teacher leadership on instructional management, when comparing the mean scores between the monitoring and evaluation period and the post implementation period, had the percentage progress of 13.92.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 15,765.58 KB |