ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานในรายวิชาการสร้างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Development of a Mathematics Instructional Model Based On Constructionism Theory in a Learning Media Construction Course for Mathematics Students in Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University
ผู้จัดทำ
ผกาพรรณ วะนานาม รหัส 58632227102 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ดร.อุษา ปราบหงษ์ , รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ในรายวิชาการสร้างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ในประเด็นต่อไปนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 2.2) เปรียบเทียบทักษะการสร้างสื่อ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และ 2.3) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการสร้างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการสร้างสื่อ แบบประเมินความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t–test แบบ Dependent Samples และ One–sample t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ที่มาและความสำคัญของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) แนวคิดการพัฒนารูปแบบ 4) จุดประสงค์ของรูปแบบ 5) เนื้อหาของรูปแบบ 6) กระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างพลังทางความคิด ขั้นที่ 2 สะกิดแสวงหาความรู้ ขั้นที่ 3 เรียนรู้สู่การปฏิบัติ ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์องค์ความรู้ และขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ควบคู่กับการประเมิน และ 7) การวัดและประเมินผล 

2. ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ในประเด็นต่อไปนี้

2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

2.2 ทักษะการสร้างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการสร้างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก (x = 4.48, S.D. = 0.30)
 

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop a mathematics instructional model based on constructionism theory in a Learning Media Construction Course for mathematics education students of Sakon Nakhon Rajabhat University; 2) to study the effects after the implementation of the developed mathematics instruction model based on constructionism theory in terms of the following issues: 2.1) comparing students’ learning achievement before and after the intervention. The after-intervention learning achievement was also compared with the defined 75-percent criterion of the total score; 2.2) comparing students’ skills in constructing mathematical learning media after learning through the developed instruction model with the defined 75-percent criterion of the total score, and 2.3) compared students’ ability to use technology in constructing mathematical learning media to achieve the defined 75-percent criterion of the total score, and 3) to study the students’ satisfaction toward the developed instructional model. The sample group consisted of 38 third-year mathematics education students in the Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University, in the first semester of the academic year 2020. The research instruments were a learning achievement test, an evaluation form of learning media construction skills, a form evaluating students’ 
ability to use technology, and a student's satisfaction questionnaire. The data were statistically analyzed using percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test for Dependent Samples, and One-sample t-test.

The findings were as follows: 

1. The developed mathematics instructional model consisted of seven components: 1) Background and Significance, 2) Principles, 3) Concepts, 4) Objectives, 5) Contents, and 6) an Instructional Process consisting of five steps, including Step 1-creating thinking power, Step 2-searching for knowledge, Step 3-learning to practice, Step 4-creating a body of knowledge, and Step 5-knowledge sharing and evaluation, and 7) Measurement and Evaluation. 

2. The effects after the implementation of the mathematics instructional model based on constructionism theory revealed that: 

2.1 The students’ learning achievement after learning through the developed instructional model was higher than that of the pre-intervention learning achievement, and the defined criterion of 75 percent with the .05 level of significance. 

2.2 The students’ skills in constructing mathematical learning media were higher than the defined criterion of 75 percent with the .05 level of significance.

2.3 The students’ ability to use technology in constructing mathematical learning media was higher than the defined criterion of 75 percent with the .05 level of significance.

3. The students’ satisfaction toward the developed instructional model was at a high level. (x = 4.48, S.D. = 0.30).
 

คำสำคัญ
รูปแบบการเรียนการสอน การสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ , ชิ้นงาน การสร้างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
Keywords
Instructional Model, Constructionism, Mathematical Learning Media , Construction
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,370.68 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 15:09:39
View 1398 ครั้ง


^