ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการประเมินผลตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูระดับประถมศึกษา
A Model for Enhancing Cultural Evaluation Based on Professional Learning Community for Primary School Teachers
ผู้จัดทำ
ปริญญา อุปลา รหัส 58632227105 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กําจัดภัย , ดร.อุษา ปราบหงษ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของวัฒนธรรมการประเมินผลสำหรับครูระดับประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการประเมินผลตามแนวคิดชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูระดับประถมศึกษา และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรม การประเมินผลตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูระดับประถมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา มีแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มวัดก่อน-หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3  ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 โรงเรียน โรงเรียนละ 10 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรม แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ แบบสอบถามเกี่ยวกับความเชื่อและค่านิยมที่มีต่อการนำการประเมินผลไปใช้และแบบประเมินตนเองการนำการประเมินผลไปใช้อย่างต่อเนื่อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที 

ผลการวิจัยพบว่า

1. วัฒนธรรมการประเมินผลสำหรับครูระดับประถมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ 60 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผล 10 ตัวบ่งชี้ 2) ทักษะปฏิบัติด้านการประเมินผล 10 ตัวบ่งชี้ 3) ความเชื่อและค่านิยมที่มีต่อการนำการประเมินผลไปใช้ 20 ตัวบ่งชี้ และ 4) การนำการประเมินผลไปใช้อย่างต่อเนื่อง 20 ตัวบ่งชี้ โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้อยู่ระดับมากที่สุด

2. รูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการประเมินผลตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูระดับประถมศึกษา มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) แนวคิดพื้นฐานของรูปแบบ 4) หลักการของรูปแบบ 5) ขอบข่ายของการพัฒนา 6) แนวทางของการพัฒนาวัฒนธรรมและ 7) การวัดและประเมินผล โดยมีแนวทางพัฒนาวัฒนธรรมตามขั้นตอน คือ  1) การสร้างโครงสร้างสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและค่านิยมเป้าหมายร่วมกัน 2) การเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมมือ ร่วมใจ 3) การปฏิบัติการร่วมกันเพื่อพัฒนาผู้เรียน และ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างกัลยาณมิตร

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ ดังนี้

            3.1 วัฒนธรรมการประเมินผลด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลมีคะแนนร้อยละเฉลี่ย 77.00 ด้านทักษะปฏิบัติด้านการประเมินผล มีคะแนนร้อยละเฉลี่ย 87.00 ด้านความเชื่อและค่านิยมที่มีต่อการนำการประเมินผลไปใช้ มีคะแนนเฉลี่ย 4.39 อยู่ในระดับมาก และด้านการนำการประเมินผลไปใช้อย่างต่อเนื่อง มีคะแนนเฉลี่ย 4.53 อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งวัฒนธรรมการประเมินผลทุกด้านสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           3.2 วัฒนธรรมการประเมินผลด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผล ด้านความเชื่อและค่านิยมที่มีต่อการนำการประเมินผลไปใช้ และด้านการนำการประเมินผลไปใช้อย่างต่อเนื่อง หลังการทดลองใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           3.3 วัฒนธรรมการประเมินผลทุกด้านหลังการทดลองใช้รูปแบบของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine the components and indicators of evaluation culture for primary school teachers, 2) develop and evaluate     a model for enhancing evaluation culture based on professional learning community  for primary school teachers, and 3) study the effects after the model implementation. According to this research, the research and development process was adopted with  a randomized pretest-posttest control group design. The samples, obtained through a cluster random sampling, were 20 primary teachers from two schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 in the academic year 2020. Ten teachers from each school were selected to form the experimental group, and ten for the control group. The instruments consisted of lesson plans, a test, a performance skill assessment, a set of questionnaires about beliefs and values toward evaluation implementation, and a self-assessment form on continuous implementation of evaluation. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, and t-test.

The findings were as follows:

1. The evaluation culture for primary school teachers consisted of four components with 60 indicators: 1) knowledge and understanding of evaluation with 10 indicators; 2) performance skills of evaluation practice with 10 indicators; 3) beliefs and values toward evaluation implementation with 20 indicators; and 4) continuous implementation of evaluation with 20 indicators. The appropriateness of proposed components and indicators were at the highest level.

2. The model for enhancing evaluation culture based on professional learning community for primary school teachers consisted of seven components: 1) Background and importance, 2) Objectives, 3) Basic concepts, 4) Principles,  5) Scope of development, 6) Guidelines for developing evaluation culture, and  7) Measurement and evaluation. The proposed guidelines for developing evaluation culture comprised: 1) Creating structures to promote professional learning community, shared values and goals, 2) Learning to learn together, and making personal commitment to work collaboratively, 3) Working cooperatively for learner development, and 4) Sharing knowledge and providing friendly feedback.

3. The effects after the model implementation revealed that:

           3.1 The evaluation culture in terms of knowledge and understanding of evaluation achieved an average score of 77.00 percent, and performance skills of evaluation practice with an average score of 87.00 percent. The beliefs and values toward evaluation implementation reached a high level with an average score of 4.39, whereas the continuous implementation of evaluation had an average score of 4.53, which was at the highest level. All aspects of the evaluation culture were higher than the criteria set at the .05 level of significance.

          3.2 The evaluation culture of the experiment group after the model implementation was higher than that of the control group at the .05 level of significance.

          3.3 All aspects of the evaluation culture of the experimental group after the model implementation was higher than those of the control group at the .05 level of significance.
 

คำสำคัญ
รูปแบบวัฒนธรรมการประเมินผล ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Keywords
Evaluation Culture Model, Professional Learning Community
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,959.75 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 15:07:56
View 1076 ครั้ง


^