ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการนิเทศของศึกษานิเทศก์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Development of Supervision Competency Indicators of Educational Supervisors under the Office of the Basic Education Commission
ผู้จัดทำ
นิภาวรรณ เดชบุญ รหัส 58632233101 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง , ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการนิเทศของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะการนิเทศของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) จัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการนิเทศของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิธีวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และการใช้เทคนิคเดลฟาย แบบปรับปรุง 3 รอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน   21 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการสอบถามศึกษานิเทศก์และครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 576 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แนวคิดของ Comrey & Lee การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 3 การจัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 

1. องค์ประกอบสมรรถนะการนิเทศของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย 71 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นความรู้ในการนิเทศ จำนวน 24 ตัวบ่งชี้ ทักษะการนิเทศ จำนวน  28  ตัวบ่งชี้ และคุณลักษณะส่วนตัวผู้นิเทศ จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ 

2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะการนิเทศของศึกษานิเทศก์  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 52.55 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 54  p-value เท่ากับ 0.53 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.97 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00) 

3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการนิเทศของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก        (x = 4.50, S.D. = 0.34)
 

Abstract

The objectives of this research were to: 1) develop the supervision competency indicators of educational supervisors under the Office of the Basic Education Commission (OBEC), 2) examine the congruence between  the structural model of the supervision competency indicators of educational supervisors under the OBEC with empirical data, and 3) develop a manual for implementation of the supervision competency indicators of educational supervisors under the OBEC. The research procedures were divided into three phases. The first phase was the conceptual framework determination and indicator development through the study of related documents and research articles, the interview with seven experts and the application of 3-round modified Delphi technique by 21 experts. The second phase was the examination of research hypothesis and the empirical data through an inquiry with 576 educational supervisors and teachers under the OBEC, in the academic year 2020. Comrey & Lee method was applied as sample size determination method. The research samples were randomly selected using multi-stage sampling.The instrument used in data collection was a 5–rating scale questionnaire. Confirmatory factor analysis was employed in data analysis. The third phase was a manual development. The manual was verified by five experts. The research tool in this phase was a 5-rating scale questionnaire. The collected data were analyzed for mean and standard deviation. 

The findings were as follows.  

1. The components of supervision competency of educational supervisors under the OBEC comprised of three principal components,15  sub-components and 71 indicators which could be classified as: 24 indicators of supervision knowledge, 28 indicators of supervision skills and 19 indicators of individual characteristics of educational supervisors. 

2. The structural model of the supervision competency indicators of educational supervisors under the OBEC was congruent with empirical data, which obtained chi-square = 52.55 with non-statistical significance, df = 54, p-value = 0.53, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.00)

 3. The manual for implementation of the supervision competency indicators of educational supervisors under the OBEC showed the appropriateness at high level ( x= 4.50, S.D. = 0.34).
 

คำสำคัญ
ตัวบ่งชี้ สมรรถนะการนิเทศ ศึกษานิเทศก์
Keywords
indicator, supervision competency, educational supervisors
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,353.40 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 15:12:46
View 711 ครั้ง


^