ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Classroom Management Strategies Affecting Student Quality for Primary Schools under Primary Educational Service Area Offices in the Northeast
ผู้จัดทำ
นฤมล ทัดสา รหัส 58632233105 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียน 3) พัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนา กลยุทธ์ ดำเนินการใน 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การร่างกลยุทธ์ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และการศึกษาพหุกรณีโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 2 โรงเรียน และ 2) การพัฒนากลยุทธ์ โดยใช้เทคนิคการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ จำนวน 542 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ วิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์ โดยการประเมินความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 

1. กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษามี 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก 3) กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำสำหรับครู และ 4) กลยุทธ์การมีส่วนร่วมในการจัดการชั้นเรียน  

2. กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด           (x =4.71, S.D.=0.16)

3. คู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก                 (x = 4.48,  S.D. = 0.10) 
 

Abstract

The objectives of this study were to: 1) develop classroom management strategies affecting student quality, 2) verify the effectiveness of the classroom management strategies, and 3) develop a manual for implementing the classroom management strategies affecting student quality for primary schools under Primary Educational Service Area Offices in the Northeast. The research procedures were divided into three phases. The first phase was the strategy development which consisted of two main steps: 1) drafting strategies by reviewing related documents and research articles, interviewing seven experts, and conducting a multi-case studies of two model schools and 2) strategy development using focus group of nine experts. The second phase was the verification of the effectiveness of the developed classroom management strategies using a survey to explore the opinions of 542 school administrators and teachers. The sample size was determined by the application of Taro Yamane formula and randomly selected using multi-stage sampling. The tool used in data collection was a 5-level rating scale questionnaire. The third phase was the development of a manual for implementing the strategies which evaluated for the appropriateness by five experts. The research instrument employed to called data was a 5-level rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis included percentage, mean, and standard deviation. 

The findings showed that,

1. The classroom management strategies affecting student quality for primary schools consisted of four strategies: 1) creating environment to support learning, 2) promoting active learning, 3) enhancing leadership of teachers, and 4) classroom management participation.

2. The classroom management strategies affecting student quality for primary schools were appropriate for implementation at the highest level. (x =4.71, S.D.=0.16).

3. The manual for implementing the developed classroom management strategies affecting student quality for primary schools was appropriate at high level (x = 4.48, S.D. = 0.10). 
 

คำสำคัญ
กลยุทธ์ การบริหารจัดการชั้นเรียน กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียน คุณภาพผู้เรียน
Keywords
strategies, classroom management, classroom management strategies, student quality
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,622.63 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 09:22:09
View 1356 ครั้ง


^