สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา และ 2) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน และการตรวจสอบร่างรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษามี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมี 3 ปัจจัย ประกอบด้วยการบริหารจัดการองค์กร การบริหารแบบมีส่วนร่วม และผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) ขอบข่ายการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 5 ด้าน ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ ทีมและเครือข่ายการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีทางการศึกษา และแรงจูงใจ 3) กระบวนการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข และ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมี 2 ด้าน ประกอบด้วยผลสัมฤทธิ์ทางด้านวิชาการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
2. รูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาพบว่ามีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
This study aimed to 1) develop an administration model for being a professional learning community of primary schools, 2) investigate the administration model for being a professional learning community in primary schools under the Regional Education Office No.11. The research procedures were divided into 2 phases: 1) development of the administration model for being a professional learning community by studying related documents and research papers, interviewing three experts, and validating the draft of the model by five experts, and 2) investigating of the administration model through interviews of seven scholars.The instrument employed in data collection was a structured interview form, which obtain validity index at 1.00. The statistics used to analyze collected data included frequency, percentage, mean and standard deviation.
The findings of this study were as follows.
1. The administration model for being a professional learning community of primary schools consisted of 4 components: 1) factors affected the professional learning community comprising 3 factors: organizational administration, participatory administration and transformational leadership, 2) administration framework for being a professional learning community comprised of 5 aspects: visions, teamwork and learning network, knowledge management, promoting of learning resources and educational technology and motivation, 3) administration process for being a professional learning community consisted of 4 steps: planning, application, checking and improvement, and 4) administration achievement of being a professional learning community obtained 2 aspects: academic achievements and desirable characteristics of students.
2. The administration model of the primary schools found that the developed model obtained the highest appropriateness and feasibility in all aspects.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,843.21 KB |