ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการวาดภาพโดยการเรียนตามหลักการ ของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ที่มีผลต่อ ความคิดสร้างสรรค์ ความสุขในการเรียน และความรับผิดชอบ ทางการเรียนวิชาทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Development of Drawing Exercises Based on Davies’ Affecting Creative Thinking, Happiness in Learning, Learning Responsibility in Visual Arts Subject for Prathomsuksa 1
ผู้จัดทำ
แพรวนภา อินทสิทธิ์ รหัส 59421231102 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์ , ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการวาดภาพ โดยการเรียนตามหลักการของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ วิชาทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ 3) เปรียบเทียบความสุขในการเรียน 4) เปรียบเทียบความรับผิดชอบทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 5) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ความสุขในการเรียน ความรับผิดชอบทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ สูง ปานกลาง และต่ำ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะการวาดภาพ โดยการเรียนตามหลักการของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านหนองผักตบโพนเพ็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ  การวาดภาพโดยการเรียนตามของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบวัดความสุขในการเรียน 4) แบบวัดความรับผิดชอบทาง การเรียน และ 5) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) สถิติทดสอบ ค่าที  (t–test for One Samples, t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว (One–Way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-Way ANCOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. แบบฝึกทักษะการวาดภาพ โดยการเรียนตามของเดวีส์ร่วมกับเทคนิค การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.12/83.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80  ที่กำหนดไว้ 

2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการวาดภาพที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3. ความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการวาดภาพที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ความรับผิดชอบทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการวาดภาพที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ระดับสูง  ปานกลาง และต่ำ หลังได้รับการจัดการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการวาดภาพที่พัฒนาขึ้นมีความคิดสร้างสรรค์ และความรับผิดชอบทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสุขทางการเรียนไม่แตกต่างกัน
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop drawing exercises based on Davies’ instructional principles with experiential learning technique  in Visual Arts subject for Prathomsuksa 1 to meet the efficiency of 80/80, 2) compare students’ creative thinking, 3) compare students’ happiness in learning, 4) compare students’ learning responsibilities before and after the intervention, and 5) compare creative thinking, happiness in learning, learning responsibility of Prathomsuksa 1 students with high, medium and low levels of emotional intelligence after learning through the developed drawing exercises. The samples, obtained through cluster random sampling, were 30 Prathomsuksa 1 students studied in the first semester of the academic year 2019 at Ban Nong Phaktap Phonpek School under the Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The research instruments consisted of: 1) drawing exercises based on Davies’ instructional principles combined with experiential learning technique, 2) a creative thinking test, 3) a test of happiness in learning, 4) a test of learning responsibility, and 5) a test of emotional intelligence. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, efficiency (E1 / E2), t-test for One Samples, t-test for Dependent Samples, One-Way ANOVA, One-Way MANCOVA, and One-Way ANCOVA.

The findings were as follows: 

1. The drawing exercises based on Davies’ instructional principles with experiential learning technique in Visual Arts subject for Prathomsuksa 1 contained the efficiency of 81.12 / 83.42, which was higher than the criteria set of 80/80.

2. Creative thinking of Prathomsuksa 1 students after learning through the developed drawing exercises was higher than that of before at the .05 level of significance.

3. Happiness in learning of Prathomsuksa 1 students learning through the developed drawing exercises was higher than that of before at the .05 level of significance.

4. Learning responsibilities of Prathomsuksa 1 students after learning through the developed drawing exercises was higher than that of before at the .05 level of significance.

5. The students with emotional intelligence at high, medium, and low levels statistically demonstrated different creative thinking, and learning responsibility at the .05 level of significance, whereas the students’ happiness in learning was not different.
 

คำสำคัญ
แบบฝึกทักษะการวาดภาพ การเรียนตามหลักการของเดวีส์ เทคนิคการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสุขในการเรียน ความรับผิดชอบทางการเรียน
Keywords
Drawing Exercises, Davies' Instructional Principles, Experiential Learning, Creative Thinking, Happiness in Learning, Learning Responsibilities
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,057.97 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 15:29:26
View 429 ครั้ง


^