ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับ เล่นปนเรียนแบบพื้นบ้าน และกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การสื่อสาร และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดมุกดาหาร
Development of Instructional Packages Based on Floortime technique Integrated with Local Playing to Learn and Group Process Affecting Social Interaction with Others, Communication, Desirable Behaviors for Autistic Children in Early Intervention at Mukdahan Special Education Center
ผู้จัดทำ
ธนวัฒน์ ปากหวาน รหัส 59421231104 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์ , ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สำหรับเด็กออทิระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ให้มีดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ตามเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบพัฒนาการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 3) เปรียบเทียบพัฒนาการสื่อสาร และ 4) เปรียบเทียบพัฒนาการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นเด็กออทิสติก จำนวน 5 คน ที่เข้ารับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และเตรียมความพร้อม ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดมุกดาหาร ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่าง เป็นเด็กออทิสติก ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้าน และกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์  สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม 2) แบบประเมินพัฒนาการของเด็กออทิสติก 3 ด้าน คือ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ด้านการสื่อสาร และด้านการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.)  

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 

1. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้าน และกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การสื่อสารและมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม มีค่าเท่ากับ 0.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้  

2. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นของเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ที่เรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 

3. การสื่อสารของเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ที่เรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 

4. การมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ที่เรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop the instructional packages based on Floortime technique Integrated with local playing to learn and group process for autistic children in early intervention to achieve the efficiency index, 2) to compare social interaction with others, 3) to compare communication development, and 4) to compare desirable behaviors before and after learning through the developed instructional packages. The participants of this research, obtained through purposive sampling, were five autistic children who joined the early intervention class in Mukdahan Special Education Center in the 2018 academic year. The research instruments included: 1) the instructional packages based on Floortime technique integrated with local playing to learn and group process for autistic children in early intervention, 2) the developmental assessment for autistic children consisting of three aspects: 1) social interaction with others, 2) communication, 3) desirable behaviors. The statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and effectiveness index.

The findings revealed as follows:

1. The effectiveness index of the instructional packages based on Floortime technique Integrated with local playing to learn and group process for autistic children in early intervention contained the efficiency of 0.80 which was higher than the set criteria.

2. The social interaction with others of the autistic children in early intervention after learning through the developed instructional packages was significantly higher than that of before the intervention.

3. The communication of the autistic children in early intervention after learning through the developed instructional packages was significantly higher than that of before the intervention.

4. The desirable behaviors of the autistic children in early intervention after learning through the developed instructional packages was significantly higher than that of before the intervention.
 

คำสำคัญ
เทคนิคฟอร์ไทม์ การเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้าน กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การสื่อสาร พฤติกรรมที่พึงประสงค์
Keywords
Floortime Technique, Local Playing to Learn, Group Process, Social Interaction with Others, Communication, Desirable Behaviors
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,684.30 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 15:21:11
View 397 ครั้ง


^