ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยจากสื่อสิ่งพิมพ์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิคการสอนแบบ SQ4R ที่ส่งผลต่อการอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of Thai Reading Skills Packages from Printed Materials Using CIRC and SQ4R Affecting Reading Comprehension, Analytical Thinking, and Learning Achievement of Mathayomsuksa 3 Students
ผู้จัดทำ
รินขวัญ แก้วอุ่นเรือน รหัส 59421231111 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.พิตร ทองชั้น , ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิคการสอนแบบ SQ4R ของนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80  2) เปรียบเทียบการอ่านจับใจความ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เปรียบเทียบการอ่านจับใจความ  การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนแตกต่างกัน (สูง  ปานกลาง และต่ำ) หลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ  จำนวน 1 ห้องเรียน  จำนวนนักเรียน 37 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในงานการวิจัยประกอบด้วย  1) ชุดฝึกทักษะการอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิค SQ4R  จำนวน 7 ชุด 2) แบบทดสอบวัดการอ่านจับใจความ  3) แบบทดสอบการวัดแบบคิดวิเคราะห์  4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ สถิติที่ใช้ในการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) สถิติทดสอบค่า (t-test for Dependent Samples) การคิดวิเคราะห์ตัวแปรปรวนทางเดียว ( One – Way ANOVA) การคิดวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ  ( One-Way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANCOVA) 

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และเทคนิคการสอนแบบ SQ4R มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 83.54/82.05  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

2. การอ่านจับใจความของนักเรียนที่เรียนโดยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ .05

4. ผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. การอ่านจับใจความ  การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนที่มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย ที่พัฒนาขึ้น พบว่าตัวแปรตามทั้ง 3 ตัวมีความแตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีการอ่านจับใจความและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนปานกลางและต่ำ ส่วนการคิดวิเคราะห์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop Thai reading skills packages from printed materials using CIRC and SQ4R affecting reading comprehension, analytical thinking, and learning achievement of Mathayomsuksa 3 students to contain the efficiency of 80/80, 2) to compare the students’ reading comprehension before and after the intervention, 3) to compare the students’ analytical thinking before and after the intervention, 4) to compare the students’ learning achievement gained before and after the intervention, and  5) to compare reading comprehension, analytical thinking and learning achievement of students whose achievement motivation varied (high, moderate and low). The samples, obtained through cluster random sampling, consisted of 37 students in Mathayomsuksa 3 students who studied in the academic year 2018 at Matthayomwaritchaphum school under the Secondary Educational Service Area Office 23. The instruments included: 1) the Thai reading skills packages from printed materials using CIRC and SQ4R, 2) reading comprehension test 3) analytical thinking test 4) learning achievement test. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, E1/E2, t-test (Dependent Samples), One-way ANOVA, One-way MANCOVA, and One-way ANCOVA.

The study revealed these results:

1. The Thai reading skills packages from printed materials using CIRC and SQ4R contained the efficiency of 83.54/82.05 which were higher than the set criteria of 80/80.

2. The students performed better in the post-test on reading comprehension at the .05 level of significance.

3. The students’ analytical thinking was significantly higher than after being taught by the developed Thai reading skills packages at the .05 level of significance.

4. The students’ learning achievement was significantly higher than that of before the intervention at the .05 level of significance.

5. After the intervention, the three variables in terms of reading comprehension, analytical thinking and learning achievement of students with different achievement motivation were at the .05 level of significance. In addition, levels of reading comprehension and learning achievement of the students with high achievement motivation were higher than the those of the students with moderate and low achievement motivation, whereas the analytical thinking of the students with different achievement motivation was not different.
 

คำสำคัญ
ชุดฝึกทักษะการอ่าน สื่อสิ่งพิมพ์ การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เทคนิคการสอนแบบ SQ4R การอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน
Keywords
Thai Reading Skills Packages, Printed Materials, CIRC, SQ4R, Reading Comprehension, Analytical Thinking, Learning Achievement
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,949.67 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 13:58:07
View 418 ครั้ง


^