สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ของดัชนีประสิทธิผล 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยคู่มือการเรียนรู้ สาระ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยคู่มือการเรียนรู้ สาระ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมุกดาหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนและห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการเรียนรู้สาระ หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STADร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ 2) แบบวัดพฤติกรรมความร่วมมือ 3) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t – test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว (One – way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One - way ANCOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. คู่มือการเรียนรู้ สาระ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมเทคนิค STAD กับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index ; E.I.) เท่ากับ 0.73 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. พฤติกรรมความร่วมมือ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยคู่มือการเรียนรู้ สาระ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยคู่มือการเรียนรู้ สาระ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยคู่มือการเรียนรู้ สาระ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเทคนิค STAD ร่วมกับการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. พฤติกรรมความร่วมมือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this study included the following: 1) to develop the manual for the Learning Substance of Civil Duty, Culture, and Social Life using STAD-Cooperative Learning and Yonisomanasikan Principles to gain the established effectiveness index, 2) to compare Matthayom Suksa 2 students’ cooperative behaviors, critical thoughts, and learning achievements possessed before and after learning through the manual for the Learning Substance of Civil Duty, Culture, and Social Life using STAD-Cooperative Learning and Yonisomanasikan Principles, 3) to compare cooperative behaviors, critical thoughts, and learning achievements of Matthayom Suksa 2 students whose emotional intelligences differed (high, moderate, low) after learning through the manual for the Learning Substance of Civil Duty, Culture, and Social Life using STAD-Cooperative Learning and Yonisomanasikan Principles. The subjects were 40 Matthayom Suksa 2 students who were studying in the first semester of 2018 academic year at Mukdahan School under the Office of Secondary Educational Service Area 22. They were obtained by cluster random sampling technique using the school and classrooms as the sampling units respectively. The instruments used were 1) the manual for the Learning Substance of Civil Duty, Culture, and Social Life using STAD-Cooperative Learning and Yonisomanasikan Principles, 2) the form to measure the students’ cooperative behavior, 3) the test to examine the students’ critical thought, 4) the test to evaluate the students’ learning achievement, and 5) an emotional intelligence test. Statistics employed for data analysis comprised mean, standard deviation, effectiveness index, t – test (Dependent Samples), One – way ANOVA, One – way MANCOVA, and One – way ANCOVA.
The study revealed these results:
1. The manual for the Learning Substance of Civil Duty, Culture, and Social Life using STAD-Cooperative Learning and Yonisomanasikan Principles for Matthayom Suksa 2 students had its effectiveness index of 0.73 which was higher than the established criteria.
2. After learning through the manual for the Learning Substance of Civil Duty, Culture, and Social Life using STAD-Cooperative Learning and Yonisomanasikan Principles, Matthayom Suksa 2 students’ cooperative behavior was significantly higher than that of before at .05 statistical level.
3. After learning through the manual for the Learning Substance of Civil Duty, Culture, and Social Life using STAD-Cooperative Learning and Yonisomanasikan Principles, Matthayom Suksa 2 students’ critical thought was significantly higher than that of before at .05 statistical level.
4. After learning through the manual for the Learning Substance of Civil Duty, Culture, and Social Life using STAD-Cooperative Learning and Yonisomanasikan Principles, Matthayom Suksa 2 students’ learning achievement was significantly higher than that of before at .05 statistical level.
5. Cooperative behaviors, critical thoughts, and learning achievements of Matthayom Suksa 2 students whose emotional intelligences differed (high, moderate, low) were significantly varied at .05 statistical levels.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,569.38 KB |