ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Development of a Learning Management Model of Solving Mathematical Problems for Prathomsuksa Five Students under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
ณฐมน อุปศรี รหัส 59421247104 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ นันทะศรี , รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และระยะที่ 2 การตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าความยากระหว่าง 0.44 ถึง 0.80 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.30 ถึง 0.73 และค่าความเชื่อมั่น 0.84 2) แบบวัดการมีทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าความยากระหว่าง 0.22 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.23 ถึง 0.73 และค่าความเชื่อมั่น 0.83 3) แบบวัดเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ช 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25 ถึง 0.67 และค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที 

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ 2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 3) ผลที่เกิดจากการพัฒนา 

2. ผลการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ผลจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการศึกษาทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ พบว่า อยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการศึกษาเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ พบว่า อยู่ในระดับมาก
 

Abstract

This study aimed to develop and examine the effectiveness of the learning management model to solve mathematical problems of Prathomsuksa five students under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The procedures of this study was divided into 2 phases, namely Phase 1: the development of learning management model of solving mathematical problems, and Phase 2: the investigation of the effectiveness of the learning management model for solving mathematical problems. The research samples were 30 students who were studying Prathomsuksa five of Anuban Kusuman School, Kusuman District, Sakon Nakhon Province, under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2019. Those students were obtained by purposive sampling. The research tools were 1) a mathematics achievement test with item difficulty from 0.44 to 0.80, discrimination from 0.30 to 0.73, and reliability at 0.84, 2) the mathematical problem solving skill test with item difficulty from 0.22 to 0.77, and discrimination from 0.23 to 0.73, and reliability at 0.83, and 3) a questionnaire of mathematics learning satisfactions. This questionnaire was a 5-level rating scale with discrimination from 0.46 to 0.75, item difficulty between 0.25 and 0.67, and reliability at 0.89. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.

The research found that

1. The learning management model of solving mathematical problems consisted of three elements, which were: 1) contents of learning management, 2) learning management process, and 3) results from the development.

2. The effectiveness of the mathematics learning management model consisted of 1) the comparison results of students’ mathematics learning achievement after learning were higher than before learning with statistical significance at .05, 2) the students’ mathematical problem solving skills were at high level, and 3) the students’ satisfactions on mathematics learning was at high level.
 

คำสำคัญ
รูปแบบ การพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
Keywords
Model, Model Development, Mathematics Learning Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,524.75 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 13:33:48
View 575 ครั้ง


^