ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Administrative Factors Affecting Effectiveness of Small-Sized Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
ณัฏฐณิชา ภูดีสม รหัส 59421247112 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกลักษณ์ เพียสา , รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 200 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามปัจจัยการบริหาร มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.21–0.93 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.24–0.81 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มี 5 ปัจจัย คือ 1) โครงสร้างขององค์กร 2) ภาวะผู้นำ 3) การพัฒนาบุคลากร 4) เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) บรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กร

2. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

4. ปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ปัจจัยการบริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X4) ด้านการพัฒนาบุคลากร (X3) ด้านภาวะผู้นำ (X2) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กร (X5) และด้านโครงสร้างขององค์กร (X1) มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก (Y) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 82.10 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ 

           Y’ = . .345 + .301(X4) + .221(X3) + .159(X2) + .127(X5) + .116(X1) 
        และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ 
            Zy’ = .350(Z4) + .310(Z 3) + .194(Z 2) + .179(Z 5) + .137(Z 1)

6. แนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มีจำนวน 5 ด้าน คือ 1) ด้านโครงสร้างขององค์กร 2) ด้านภาวะผู้นำ 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กร
 

Abstract

The purpose of this study was to investigate the factors affected the effectiveness of small-sized Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The samples consisted of 200 participants including administrators and teachers in academic year 2021, who were selected using multi-stage random sampling. The instruments were a set of 5-rating scales questionnaire of administrative factors indicated validity index ranged between 0.60-1.00, discrimination power index ranged between 0.21–0.93 and reliability index was at 0.96, and a set of questionnaire of small-sized school effectiveness indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discrimination power index ranged between 0.24–0.81 and reliability index was at 0.94. Statistic used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows.

1. The factors of small-sized school administration under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 comprised five factors, namely 
1) organizational structure, 2) leadership, 3) personnel development, 4) information technology, 5) organizational environment and culture.

2. The overall level of factors of small-sized school administration under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 was at high level.

3. The overall level of the effectiveness of small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 was at high level.

4. The administrative factors and the effectiveness of small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 showed positive correlation with the statistical significance at .01.

5. The administrative factors in information technology (X4), personnel development (X3), leadership (X2), organizational environment and culture (X5), and organizational structure (X1) predicted the effectiveness of small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 at 82.10 percent with statistical significance at .05. These could be formed as the regression equations of raw score as follows.

           Y’ = .345 + .301(X4) + .221(X3) + .159(X2) + .127(X5) + .116(X1) 
These could be formed as the regression equations of standardized score as follows.
            Zy’ = .350(Z4) + .310(Z 3) + .194(Z 2) + .179(Z 5) + .137(Z 1)

6. The guideline to develop administrative factors affected the effectiveness small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 comprised five factors, namely 1) organizational structure, 2) leadership, 3) personnel development, 4) information technology, 5) organizational environment and culture.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร ประสิทธิผล โรงเรียนขนาดเล็ก
Keywords
Administrative Factors, Effectiveness, Small-Sized Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,820.98 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
17 สิงหาคม 2566 - 10:09:34
View 355 ครั้ง


^