ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 1
Factors Affecting Basic Skills of Mathematics for Early Childhood Children in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
อุมาพร การุญ รหัส 59421247142 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ นันทะศรี , รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัย จำนวน 303 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.53–0.84 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.55–0.82 และค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน 

ผลการวิจัยพบว่า 

1. องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประกอบ ไปด้วย 1) ปัจจัยด้านตัวเด็กปฐมวัย 2) ปัจจัยด้านครอบครัว และ 3) ปัจจัยด้านคุณภาพการสอนของครู  

2. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

3. ระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

4. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

5. ปัจจัยด้านคุณภาพการสอนของครู (X3) ด้านครอบครัว (X2) และด้านตัวเด็ก (X1) มีอำนาจพยากรณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.20 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ ดังนี้ 

        Y = 0.394 + -.440X3 + .878X2 + .178X1

        และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้

          Z = -.537Z3 + .069Z2 + .039Z1
 

Abstract

This study aimed to investigate the factors affecting basic skills of mathematics for early childhood children in schools under Sakon Nakhon Educational Service Area Office 1. The samples comprised 303 participants of early childhood teachers, who were selected using multi-stage random sampling. The research tool was a set of 5-rating scale questionnaire indicated validity index ranged between 0.53-0.84, discriminating power index ranged between 0.55-0.82, and reliability index was at 0.87. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation, and stepwise multiple regression analysis.

The research results found that,

1. The components of factors affected the basic skills of Mathematics for early childhood children in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 consisted of 1) Early childhood children themselves, 2) Family and 3) Teaching quality of teachers.

2. The level of factors affected basic skills of mathematics for early childhood children in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in overall and each aspect, was at high level.

3. The level of basic skills of mathematics for early childhood children in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in overall and each aspect, was at high level.

4. The relationship between factors and basic skills of mathematics for early childhood children in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 showed positive correlation at high level with statistical significance at .01.

5. Factors of Teaching quality of teachers (X3), Family (X2), and Early childhood children themselves (X1) had a predictive power of 77.20 percent, which could be written as multiple regression analysis equation in the form of raw scores as follows.

           Y = 0.394 + -.440X3 + .878X2 + .178X1

And the regression analysis equation could be written in the form of standard scores as follows.

           Z = -.537Z3 + .069Z2 + .039Z1
 

คำสำคัญ
ปัจจัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัย
Keywords
Factors, Basic Skills of Mathematics, Early Childhood Children
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,214.60 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
17 สิงหาคม 2566 - 09:56:00
View 286 ครั้ง


^