สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการในการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการสอนของครูโรงเรียนกีฬา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) หาแนวทางส่งเสริมการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการสอนของครูโรงเรียนกีฬาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขั้นตอนการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการสอนของครูโรงเรียนกีฬา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากร คือ ผู้บริหาร จำนวน 6 คน และครู จำนวน 164 คน รวม 170 คน โดยสุ่มตัวอย่างครู ด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และ 2) แบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.974 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ระยะที่ 2 หาแนวทางส่งเสริมการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการสอนของครูโรงเรียนกีฬาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้บริหารโรงเรียนกีฬาทุกแห่งมีนโยบายพัฒนาสื่อดิจิทัลให้มีความทันสมัย ส่งเสริมสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพสูง และสนับสนุนงบประมาณสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการสอน สื่อดิจิทัลที่รัฐบาลสนับสนุนครูส่วนใหญ่ใช้การจัดการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศร้อยละ 68.64 ส่วนการใช้สื่อดิจิทัลทั่วไป ครูส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊ค ร้อยละ 32.3 ไลน์ ร้อยละ 22.88 และเสิร์ชเอ็นจิ้น ร้อยละ 17.80 ตามลำดับ โดยการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการสอนตามคุณสมบัติของแต่ละสื่ออยู่ในระดับมากและมากที่สุดทุกข้อ และในภาพรวมทุกประเภทของสื่ออยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.22) ปัญหาการใช้สื่อดิจิทัลของครูภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือด้านฮาร์ดแวร์ ด้านซอฟต์แวร์ และด้านข้อมูล ความต้องการการใช้สื่อดิจิทัลของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ด้านฮาร์ดแวร์ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ
แนวทางส่งเสริมการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการสอนของครูโรงเรียนกีฬาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 5 ด้าน คือ (1) ด้านฮาร์ดแวร์ 1.1) ควรสนับสนุนสื่อและจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน 1.2) ควรส่งเสริมและสนับสนุนระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูงและมีประสิทธิภาพ (2) ด้านซอฟต์แวร์ 2.1) ควรพัฒนาสื่อการสอนให้สอดคล้องกับการเรียนรูปแบบออนไลน์ และการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม 2.2) จัดหาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้ตรงวัตถุประสงค์การใช้งานของครู (3) ด้านบุคลากร 3.1) ควรส่งเสริมการเข้าร่วมโครงการฝีกอบรมเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการสร้างและใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง 3.2) ครูควรจัดทำแผนการสอนให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในยุคการใช้สื่อดิจิทัล 3.3) ควรกำหนดมาตรการให้ครูนำสื่อดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจัง (4) ด้านข้อมูล 4.1) ควรจัดหาหรือสร้างสื่อดิจิทัลที่เหมาะสมกับหลักสูตรและสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2) ควรพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้มากขึ้น (5) ด้านงบประมาณ 5.1) ควรจัดสรรงบประมาณที่ได้รับเพียงพอในการจัดหาสื่อดิจิทัล 5.2) ควรจัดสรรงบประมาณในการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัลมีเพียงพอ
The purposes of this study included the following: 1) To investigate the conditions, problems and needs of using digital media for teachers’ instructions in Sports Schools of the Northeastern Local Government Organizations, 2) To explore the guidelines on promoting the use of digital media for teachers’ instructions in Sports Schools of the Northeastern Local Government Organizations. The study was subdivided into two phases. In the first phase, the conditions, problems, and needs of using digital media for teachers’ instructions in Sports Schools of the Northeastern Local Government Organizations were explored. Obtained through stratified random sampling technique, the population included 6 administrators and 164 teachers or 170 people in total. However, only 115 respondents returned the questionnaires. The research instruments were 1) semi-structured interview form, and 2) the checklist with 5-point rating scale questionnaire whose reliability was 0.974. The statistics employed were frequency, percentage, mean, and standard deviation. In the second phase, the guidelines on promoting the use of digital media for teachers’ instructions in Sports Schools of the Northeastern Local Government Organizations had been sought through group discussion among 9 specialists. The data was analyzed via content and statistical analyses using frequency and percentage.
The study unveiled these results:
It was found that all Sports Schools’ administrators had the policies on developing the digital media to become modern. They wanted to enhance the efficiency of the digital and technological infrastructure by providing the budget for instructional media. Regarding the use of digital media supported by the government, most of the teachers or 68.64% of them used DLIT. Of the general media, most teachers or 32.3% of them used Facebook; 22.88% used Line Application, and 17.80% of all teachers employed search engines, respectively. The use of these digital media on the basis of their qualities and functions were at the high or highest levels in every item/aspect. At the same time, the overall use of all types of digital media was also at the high level (x ̅= 4.22). Pertaining to the problems of using the digital media, these three problems were encountered by the teachers at the most, second most and third most levels: hardware, software, and data. About the teachers’ needs of using the digital media, these needs were ranked from the most, second most and third most levels respectively, hardware, personnel, and budget.
These guidelines were obtained for promoting 5 aspects of using the digital media for teachers’ instructions in Sports Schools of the Northeastern Local Government Organizations. (1) Of the hardware, 1.1) modern and adequate digital media/instructional devices should be provided, 1.2) high speed as well as efficient/ quality network should be enhanced and provided. (2) In terms of the software, 2.1) Teaching materials should be developed in accordance with online learning styles and use of appropriate technology, 2.2) instructional software/applications which suit the teachers’ needs should be procured. (3) About the personnel, 3.1) the measures which enable the teachers to seriously adopt the digital media should be established, 3.2) the teachers should make their lesson plans that are appropriate for the digital era, 3.3) the teachers’ use, creation and learning of the digital media for instruction should be continuously promoted. (4) Concerning the data, 4.1) Digital media should be provided or created appropriately for the course and current situation so that it can be used for effective teaching and learning management, 4.2) quality/efficient digital system for instruction should be developed. (5) Regarding the budget, 5.1) sufficient budget for maintaining or fixing the computers and devices should be allocated, 5.2) There should be sufficient budget for the maintenance of computer equipment and digital devices.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 5,367.58 KB |