สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎีฐานรากเกี่ยวกับลักษณะเงื่อนไขและกระบวนการเกิดและผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากภาวะผูนําโรงเรียนที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้วิจัยเลือกพื้นที่ที่จะศึกษาด้วยวิธีการเลือกเชิงทฤษฎีและเป็นโรงเรียนซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการสังเกตและจดบันทึก แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการจัดสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้วิจัยเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการแปลความและตีความจากข้อมูล แล้วสร้างมโนทัศน์ขึ้นโดยอาศัยความไวเชิงทฤษฎี และใช้โปรแกรม Atlas.ti7 ช่วยในการจัดระบบข้อมูล
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ลักษณะภาวะผู้นำโรงเรียนที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือโรงเรียนที่มีวิถีการดำเนินงานโดยใช้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม มีการทำงานเป็นทีม มีการกระจายความเป็นผู้นำและมีวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นผลสำเร็จตามเป้าหมาย 4 ด้านคือ ด้านการบริหารงานเชิงคุณภาพได้แก่การมีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องด้านการเรียนรู้ได้แก่การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงการเรียนรู้จากปัญหาการจัดกิจกรรม PLC ด้านการบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐานได้แก่ การมีส่วนร่วมการสื่อสารที่ดี และการมีภาคีเครือข่ายภายนอกและด้านหน้าที่ทางการบริหารได้แก่ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม และการบริหารทรัพยากร
2. เงื่อนไขและกระบวนการเกิดภาวะผู้นำโรงเรียนมี2 เงื่อนไขคือ เงื่อนไขจากภายนอกโรงเรียนได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และเงื่อนไขภายในโรงเรียนได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษาและวิสัยทัศน์โรงเรียน ส่วนกระบวนการเกิดภาวะผู้นำโรงเรียนมี 3 กระบวนการได้แก่ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การปรับปรุงงานและพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและวัฒนธรรมมุ่งผลสำเร็จ
3. ผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากภาวะผู้นำโรงเรียนแบ่งออกเป็น 6 ด้านคือด้านนักเรียนได้แก่วิชาการดีมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความสุขและภูมิใจด้านครูได้แก่ภาวะผู้นำครู การพัฒนาตนเองและทีมงาน การปรับแนวคิดและพฤติกรรมการมีขวัญและกำลังใจด้านผู้บริหารโรงเรียนได้แก่มีชื่อเสียงเกียรติยศและความภาคภูมิใจคุณลักษณะที่ดีของนักบริหารด้านโรงเรียนได้แก่มีชื่อเสียงและเป็นต้นแบบที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีแหล่งเรียนรู้ที่ดีด้านชุมชนได้แก่การมีส่วนร่วม ความสัมพันธ์ที่ดี และการแบ่งปันและด้านสังคมได้แก่ความสามัคคีและให้ความสำคัญกับการศึกษา และองค์ความรู้ที่มีประโยชน์
This research aimed to propose a grounded theoretical conclusion on characteristics, conditions, processes, and consequences arising from the excellent school leadership based on the principles of sufficiency economy. The selected area study and school were done through theoretical selection methods and consistent with the objectives of the research. The researcher collected data himself, using document analysis forms, observation forms and written notes, in-depth interview forms, and recordings of group discussion. The key informants were stakeholders who are involved in educational management of excellent schools based on principles of sufficiency economy. Analysis of data was done through data interpretation for the purpose of arriving at a concept based on theoretical sensitivity. The Atlas.ti7 software program was utilized to organize the gathered data for rearranging.
The findings were as follows:
1. The characteristics of excellent school leadership in accordance with the principles of sufficiency economy involved the schools which have performed using participative management, teamwork, distribution of leader and a work culture focusing on four aspects of achieving goals: Qualitative management aspect including best practices and continuous work development; Learning aspects including learning by doing, learning from problems, and organizing PLC activities; School-based management aspect including participation, good communication, and external partnership networks; and Administration aspects including leadership, teamwork and resource management.
2. Conditions and school leadership building processes could be summarized into two conditions which were external conditions, including 20-Year national strategies and national policies, and internal conditions involving educational quality assurance and school visions. The school leadership building processes involved three components: Problem solving and decision making, Continuous task refinement and development, and Development and culture-based success.
3. The consequences of school leadership were categorized into six aspects comprising: students having good academic achievement, desirable characteristics, being happy and proud; Teachers having leadership, self-development and team work, adjusting concepts and behaviors, demonstrating morale; School administrators having fame, honor and pride, and having good characteristics; School being well recognized and a good model, having good environment and good learning resources; Community providing participation, having good relationship and sharing; and Society exhibiting unity and giving importance on education and useful knowledge.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 5,152.37 KB |