สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 2) ศึกษาและกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และ 3) ตรวจสอบกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่พัฒนาขึ้นด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ ในการนำไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ศึกษาธิการจังหวัด รองศึกษาธิการจังหวัด และผู้อำนวยการกลุ่ม โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครชชี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน ประกอบด้วย ศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 26 คน รองศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 26 คน และผู้อำนวยการกลุ่ม จำนวน 208 คน ดำเนินการวิจัยแบบวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม (Participatory Policy Research) ดำเนินการ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็น การบริหารจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด พบว่า สภาพการปฏิบัติ มีขอบข่ายงาน 8 ด้าน คือ ด้านอำนวยการ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านนโยบายและแผน ด้านพัฒนาการศึกษา ด้านนิเทศ ติดตามและประเมินผล ด้านส่งเสริมการศึกษาเอกชน ด้านลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน และด้านตรวจสอบภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความคาดหวังโดยรวมด้านอำนวยการอยู่ในระดับมากที่สุด นอกนั้นค่าความคาดหวังอยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าความต้องการจำเป็นโดยภาพรวมทุกด้าน กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการจำเป็นทุกรายการ โดยมีค่า PNI Modified อยู่ระหว่าง 0.03 ถึง 0.15 โดยภาพรวม (0.12) เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ ด้านนโยบายและแผน (PNI = 0.15) ด้านนิเทศ ติดตามและประเมินผล (PNI = 0.14) และด้านส่งเสริมการศึกษาเอกชน (PNI = 0.14)
2. กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประกอบด้วย 1) ด้านอำนวยการ มี 6 เป้าประสงค์ 11 กลยุทธ์ 10 โครงการ 2) ด้านบริหารงานบุคคล มี 10 เป้าประสงค์ 17 กลยุทธ์ 11 โครงการ 3) ด้านนโยบายและแผน มี 7 เป้าประสงค์ 15 กลยุทธ์ 14 โครงการ 4) ด้านพัฒนาการศึกษา มี 9 เป้าประสงค์ 28 กลยุทธ์ 14 โครงการ 5) ด้านนิเทศ ติดตาม และประเมินผล มี 8 เป้าประสงค์ 21 กลยุทธ์ 10 โครงการ 6) ด้านส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน มี 4 เป้าประสงค์ 9 กลยุทธ์ 5 โครงการ 7) ด้านกิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน มี 5 เป้าประสงค์ 14 กลยุทธ์ 6 โครงการ และ 8) ด้านตรวจสอบภายใน มี 2 เป้าประสงค์ 7 กลยุทธ์ 3 โครงการ
3. ผลการตรวจสอบกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่พัฒนาขึ้น ด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติ พบว่า 1) ด้านอำนวยการ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านบริหารงานบุคคล มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านนโยบายแผน มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ด้านพัฒนาการการจัดการศึกษา มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5) ด้านนิเทศ ติดตาม และประเมินผล มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 6) ด้านส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 7) ด้านลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 8) ด้านตรวจสอบภายใน มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were: 1) to investigate current conditions, expectations and needs for administrative management of the Provincial Education Office; 2) to examine and formulate strategies for developing administrative management of the Provincial Education Office; 3) to validate the developed strategies regarding possibilities, suitability, feasibility, and usefulness for further practices. The sample consisted of 26 directors of the Provincial Education Office, 26 deputy directors of Provincial Education Office, and 208 group directors, obtained through the Multi-Stage Random Sampling. The sample size was then determined based on the Krejcie and Morgan table. The participatory policy research was employed and divided into two phases: Phase I- Fundamental Information Investigation, and Phase II- Strategy Development.
The findings were as follows:
1. Conditions, expectation, and needs for administrative management of the Provincial Education Office revealed that the work scopes involved eight aspects: 1) administration; personnel management; policy and planning for educational development; monitoring supervision and evaluation; private education support; Boy Scouts, Girls’ Guides and students affairs; and internal audit, as a whole were at a high level in all aspects. The expectation aspect in terms of administration, as a whole was at the highest level. The sample agreed upon the needs of all aspects with the Priority Needs Index (PNI) ranging between 0.03 to 0.15 with 0.12 in overall, which were arranged in descending order from high to low for the first three aspects, including policy and planning (PNI= 0.15), monitoring supervision and evaluation (PNI = 0.14), and private education support (PNI = 0.14).
2. Strategies for developing administrative management in the Provincial Office of Education consisted of: 1) Administration with six goals, 11 strategies, and ten projects; 2) Personnel management with ten goals, 17 strategies, and 11 projects; 3) Policies and planning with seven goals, 15 strategies, and 14 projects; 4) Educational development with nine goals, 28 strategies, and 14 projects; 5) Supervision, monitoring and evaluation with eight goals, 21 strategies, and ten projects; 6) Private education support with four goals, nine strategies, and five projects; 7) Boy Scouts, Girls’ Guides and student affairs with five goals, 14 strategies, and six projects; and 8) Internal auditing with two goals, seven strategies, and three projects.
3. The validation result of the developed strategies for improving administrative management in the Provincial Education Office revealed that all aspects, namely administration; personnel management; policies and planning; educational management; supervision, monitoring and evaluation; private education support; Boys’ Scouts, Girls’ Guides and student affairs; and internal auditing, as a whole achieved the highest level in terms of suitability, possibility, and usefulness.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 12,523.88 KB |