ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Task Development toward Success Based on the Pracharath School Project in Bannakogkhwai School under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
ณัฐชรัตน์ แก้วก่า รหัส 59520248105 ระดับ ป.เอก ภาคปกติ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1  2) หาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ 3) ติดตามผลการพัฒนาการงานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย 1 คน ผู้ร่วมวิจัย 38 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 7 คน  ดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการ 4 ขั้นตอน 2 วงรอบ ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานสู่ความสำเร็จ  แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต การพัฒนางานสู่ความสำเร็จ

ผลการวิจัยพบว่า

1.  สภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควาย

1.1  สภาพการพัฒนางาน ได้แก่ 1) โรงเรียนยังไม่มีแนวทางการพัฒนางานตามโครงการโรงเรียนประชารัฐที่ชัดเจน  2) ครูและบุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนางานตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ  3) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเดิม โดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง 4) ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการนำสื่อเทคโนโลยีไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ 5) ครูบางส่วนยังไม่เปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนางานตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ

1.2 ปัญหาการพัฒนางานประกอบด้วย 1) ครูส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาตนเองด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน  2) ครูขาดทักษะด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 3) ครูขาดการปรับปรุงและพัฒนาด้านปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะและส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ตนเองและผู้เรียน และ  4) ครูขาดการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1.3 ความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนางานสู่ความสำเร็จ ตามกลยุทธ์การพัฒนา 1) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 2) การบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา 4) การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน และ 5) การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม จิตสาธารณะ และส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้นักเรียน

2. แนวทางการพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควาย ประกอบด้วยกลยุทธ์การพัฒนางาน 5 กลยุทธ์  20 ตัวชี้วัด และมีการดำเนินงาน 25 โครงการ  49  กิจกรรม

3. ผลการพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควาย พบว่า

3.1 ดำเนินการได้ในระดับมากทุกกลยุทธ์ ผลการพัฒนาเป็นที่พอใจ สิ้นสุดการพัฒนาในวงรอบที่ 1 มีเพียงกลยุทธ์ที่ 1 การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ต้องออกแบบการพัฒนาเพิ่มขึ้นในวงรอบที่ 2 ซึ่งผลการพัฒนาในวงรอบที่ 2 มีความก้าวหน้า จากวงรอบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 85.03

3.2 ผลการพัฒนาในภาพรวม  ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปรับกระบวนการในการบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ พัฒนางานตามกลยุทธ์ ส่งผลให้เกิดคุณภาพ  นักเรียนได้รับการพัฒนามีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย  มีความสุขในการเรียน และมีความรับผิดชอบ ครูและบุคลากรมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อกระตุ้นและพัฒนานักเรียนในด้านต่าง ๆ  มีส่วนร่วมในงานของโรงเรียนมากขึ้น ผู้ปกครอง ชุมชน  คณะกรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจและมีส่วนร่วมกิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างดี

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine conditions, problems and needs for task development toward success based on the Pracharath School Project of Ban Nakogkhwai School under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1, 2) establish the operational guidelines for task development toward success, 3) follow up the effects after the implementation. The co-researchers consisted of the researcher, 38 co-researchers, and 7 informants. The research employed two spirals of participatory action research-planning, action, observation, and reflection. Research tools included a set of questionnaires concerning needs for task development toward success, evaluation forms, interview forms, and observation forms.

The findings were as follows:

1. The conditions, problems and needs for task development toward success based on the Pracharath School Project revealed that: 

1.1 The conditions of task development showed that: 1) The school had no clear development guidelines for the Pracharath School Project, 2) Teachers and personnel lacked knowledge and understanding on the task development toward success of the project, 3) Traditional teacher-centered instructional style continued to dominate the practices of teachers, 4) Teachers lacked understanding in  provided technology media into practices, and 5) Some teachers resisted to change in working toward the goals of the Pracharath School Project.

1.2 The problems concerned that: 1) Teachers lacked self-development on building competitive capability, 2) Teachers lacked skills in using technology media for teaching and learning management, 3) Teachers did not improve and develop morality and ethics cultivation, public mindedness and health promotion, and 4) Teachers lacked self-improvement in managing learner-centered approach.

1.3  Needs assessment for task development was ranked in descending order as follows: 1) Building competitive capability, 2) Administrative management and promotion of participation in educational management, 3) School access to fundamental digital structure, 4) Development of school administrators and teachers; 5) Cultivation of morality, ethics, public mindedness and health promotion. 

2. The guidelines for task development toward success included five strategies with 20 indicators, 25 projects, and 49 activities.

3. The effects after the implementation of task development based on the Pracharath project in Ban Nakogkhwai School revealed that:  

3.1 All strategies of task development were implemented and achieved at a high level of satisfaction. Only the first strategy was recommended to continue in the second spiral. The result showed the progress of 85.03 percent. 

3.2 The effects after the implementation of task in overall revealed that the administrative management process was adjusted systematically and developed tasks in accordance with the strategies leading to students’ improvement. Various learning activities were put in practices and thereby promoted student happiness and responsibilities. Teachers were able to design the learning management to encourage student development and increased participation in school activities. Furthermore, parents, community, and school board committee were satisfied with the student improvement and became more involved in school related activities.

คำสำคัญ
การพัฒนางานสู่ความสำเร็จ, โครงการโรงเรียนประชารัฐ
Keywords
Task Development toward Success, Pracharath School Project
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 12,290.99 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
25 ตุลาคม 2563 - 10:08:36
View 799 ครั้ง


^