ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : การสร้างทฤษฎีฐานราก
Outstanding Administration in Secondary Schools in the Lao People’s Democratic Republic: A Grounded Theory Study
ผู้จัดทำ
พิมสุดา ฮุ่งเฮือง รหัส 59620248110 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์
บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะและเงื่อนไขการเกิดการบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น และหาข้อสรุปเชิงทฤษฎี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการการบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น 3) ศึกษาการคงอยู่การบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น และ 4) ศึกษาผลที่ติดตามมาของการบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่ที่ศึกษาโดยใช้วิธีการเลือกเชิงทฤษฎีเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัย ผู้วิจัยเข้าไปศึกษาและจัดเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตและจดบันทึก และการจัดกลุ่มสนทนาผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครู  นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ลักษณะการบริหารงานโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น ตามบทบาท หน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน แสดงให้เห็นถึงกระบวนการการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้โรงเรียนไปสู่เป้าหมาย โดยมีเงื่อนไขการเกิดการบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น เกิดจากการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนที่ก่อให้เกิดการบริหารดีเด่น ประกอบด้วย การบริหาร 4 งานหลัก ได้แก่ 1) งานบริหาร 2) งานวิชาการ 3) งานข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี และ 4) งานปกครองนักเรียน และการเกิดเกี่ยวข้องกับบุคคล ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากร ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ทฤษฎีที่สำคัญและปรากฏชัดเจน ประกอบด้วย ทฤษฎีองค์การ ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ และทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบูรณาการ

2. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น คือ ผู้บริหารโรงเรียน การมีส่วนร่วมของบุคลากร ผู้ปกครองและชุมชน และกฎระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของชั้นมัธยมศึกษา 6 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน ด้านการบริหาร และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน

3. การคงอยู่ของการบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น เป็นสภาพการณ์ที่คงความเป็นมาตรฐานในการทำงานที่มีคุณภาพ โดยเกิดจากความต่อเนื่องในการพัฒนางาน การมีส่วนร่วมกันในการทำงานระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากรภายในโรงเรียน ซึ่งปรากฏผลงานและรางวัลต่าง ๆ ที่โรงเรียน ครู นักเรียนได้รับจากการเข้าร่วมการแข่งขันในระดับจังหวัดจนถึงระดับชาติ และนานาชาติ จนเป็นที่ยอมรับจากสังคมและประชาชนทั่วไป และทำให้ผู้ปกครองเชื่อมั่นในการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน

4. ผลที่ติดตามมาของการบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่น คือ 1) ภาพลักษณ์ของโรงเรียน เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพในทุกด้าน ผลงานของครู นักเรียน และโรงเรียน ระดับจังหวัดและระดับชาติ เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง มีผู้มาศึกษาดูงานในด้านต่าง ๆ จำนวนมาก 2) ผู้บริหารโรงเรียนและครู เป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไปในสังคม 3) ผู้เรียน มีการพัฒนาทุกด้าน รวมทั้งด้านความรู้ ด้านความคิด ด้านทักษะ ผลการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่หลักสูตรและสถานศึกษากำหนด ซึ่งสามารถเห็นผลได้จากการสอบแข่งขันของนักเรียนที่ได้ผลสำเร็จกลับมาอย่างต่อเนื่อง 4) การบริหารและการจัดการภายในโรงเรียน มีการปรับปรุงการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการปรับโครงสร้างการบริหารบุคลากร มีการยกระดับคุณภาพครู เพิ่มเทคนิคการสอน และกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละงานไว้อย่างชัดเจน 5) ผู้ปกครองและชุมชน มีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยกัน มีการสนับสนุนช่วยเหลือโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

Abstract

The purposes of this research were to 1) discover characteristics, emerging conditions involved outstanding administration in secondary schools, and theoretical conclusions; 2) to identify factors influencing the process of outstanding administration in secondary schools; 3) to determine the retention process of outstanding administration in secondary schools; and 4) to examine the effects of outstanding administration in secondary schools. The research was conducted in a large-sized secondary school, which was a subject area selected by the researchers under the theoretical sampling to achieve the research objectives. The researcher participated in the study and collected data through in-depth interviews, documentary analysis, observations, written records, and a focus group discussion of key informants, including school administrators, teachers, students, parents, and members of the community.

The findings were as follows:

1. The characteristics of outstanding administration in secondary schools for assigned roles and responsibilities of school administrators yielded a systematic work process toward school goals, which led to emerging outstanding administration in secondary schools, and was comprised four main tasks: 1) administration, 2) academic, 3) information and technology, and 4) student administration. Emerging characteristics related at individual levels, namely administrators, personnel, teachers, parents and members of the community. Important theories clearly being seen and covered were: organizational theory, trait theory of leadership, behavioural leadership theories, situational leadership, and integrative leadership theory.

2. Factors influencing the administrative process of outstanding secondary schools involved school administrators, personnel participation, parents and members of the community, rules and regulations of Ministry of Education and Sports. These covered six aspects of quality secondary education standards, i.e. students, teaching and learning, environment, learning equipment, administration, and community participation.

3. The retention of outstanding administration in secondary schools was practiced in terms of quality standards, ongoing work development, and creating work participation among school administrators, teacher and personnel. Consequently, the schools received rewards and recognition at provincial and national and international levels, and from the community and the public. Parental confidence increased in school provision and children enrollment.

4. The consequent effects of becoming outstanding administration in secondary schools were: 1) Organizational image. The schools achieved a reputation for proving quality in all aspects, including performances from teachers, students and schools at a provincial and national level, resulting in significantly increasing school visits; 2) School administrators and teachers being accepted by the communities and the public; 3) Student improvement in all aspects and achievement in better academic performance in terms of knowledge, thinking skills and skills, in meeting the set criterion of curriculum and schools, pertaining to being continuously successful in various student competitions; 4) School administration and internal management were improved and restructured systematically in terms of personnel management, teacher quality and development, instructional techniques, and assigned responsibility for each task; 5) Schools gained better relationships among community and parents, and ongoing support.

คำสำคัญ
การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์ดีเด่น, การสร้างทฤษฎีฐานราก
Keywords
Outstanding Secondary School Administration, Grounded Theory
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,542.66 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
17 เมษายน 2563 - 11:36:37
View 440 ครั้ง


^