สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูใหญ่ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 จำนวน 18 คน ระยะที่ 2 จัดทำและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูใหญ่และครูฝ่ายวิชาการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 จำนวน 36 คน จาก 18 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบประเมินภาวะผู้นำของผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 47 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม มี 10 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านวิสัยทัศน์ มี 9 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านวิชาการ มี 19 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการเปลี่ยนแปลง มี 9 ตัวบ่งชี้
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ และ 5) การวัดและประเมินผล
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 พบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 มีความเหมาะสมมากที่สุดทุกตัวชี้วัดและผู้ที่เข้ารับการพัฒนามีภาวะผู้นำของผู้บริหาร เพิ่มขึ้นหลังการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 40.18
The purposes of this research were 1) to examine the components of administrators’ leadership in the Border Patrol Police Schools, 2) to create and develop a leadership development model for administrators in the Border Patrol Police Schools, and 3) to investigate the effects after the implementation of the leadership development model for administrators in the Border Patrol Police Schools under Border Patrol Police Subdivision 24. This Research and Development (R&D) was divided into three phases: Phase I-Examining a leadership development model for administrators in the Border Patrol Police Schools under Border Patrol Police Subdivision 24 through document inquiry, experts’ in-depth interviews, and a survey. The target group was 18 principals from the Border Patrol Police Schools under Border Patrol Police Subdivision 24. Phase II-Developing and confirming a model through experts. Phase III- Model implementation. The samples were 36 participants, including school principals and teachers working in academic affairs division from 18 Border Patrol Police Schools under Border Patrol Police Subdivision 24. The instruments for data collection were unstructured interview forms, a set of rating scale questionnaires, a form of leadership assessment. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The administrators’ leadership in the Border Patrol Police Schools under Border Patrol Police Subdivision 24 consisted of four components with 47 indicators: 1) moral and ethics with 10 indicators, 2) visions with nine indicators, 3) academic affairs with 19 indicators, 4) transformation with nine indicators
2. The leadership development model for administrators in the Border Patrol Police Schools under Border Patrol Police Subdivision 24 consisted of 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) process, and 5) measurement and evaluation.
3. The effectiveness of the leadership development model for administrators in the Border Patrol Police Schools under Border Patrol Police Subdivision 24 revealed that all indicators of the developed model reached the highest level of appropriateness. After the model implementation, the participants’ leadership practices increased by 40.18 percent.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 24,423.41 KB |