สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ใช้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคกลาง และ 3) ผลการประเมินและยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคกลาง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 43 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์เชิงลึก 9 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 12 คน ใน 4 แขวงในภาคกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันรูปแบบ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลของการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มี 2 ส่วน ประกอบด้วย 1) การบริหารงานทั่วไป
มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) การรับนักเรียน 1.2) การบริหารงานบุคคล ได้แก่ การจัดบุคลากรเข้าทำงานการพัฒนาบุคลากร การนิเทศ ติดตามผลการปฏิบัติงาน และการจัดสวัสดิการ 1.3) ด้านอาคารสถานที่ 1.4) การบริหารงบประมาณ 1.5) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน 1.6) การประชาสัมพันธ์ และ 2) การบริหารงานวิชาการ มี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) การบริหารหลักสูตร 2.2) การจัดการเรียนการสอน 2.3) สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 2.4) การจัดบรรยากาศห้องเรียน 2.5) การจัดแหล่งเรียนรู้ 2.6) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2.7) การวัดและประเมินผล 2.8) การนิเทศและการแนะแนว และ 2.9) การส่งเสริมการเรียนการสอน
2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) สื่อและอุปกรณ์ 5) วิธีการดำเนินการ และ 6) การประเมินผล
3. ผลการประเมินและยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
The purposes of this research were : 1) to examine components of administration of private primary schools in the central region of Lao People’s Democracy Republic (Lao PDR); 2) to develop an administrative model for private primary schools in the central region; and 3) to validate and confirm the developed model. This research employed a Research and Development (R&D) approach. The target group consisted of 43 participants, including nine scholars for in-depth interviews, 12 outstanding scholars from four districts in the central region, and 22 experts for model confirmation. The research instruments were structured interview forms, and a set of 5-point rating scale questionnaires with the reliability of 0.97. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The components of school administration of private primary schools in the central region of Lao PDR consisted of two parts: 1) General Administration comprising six components: 1.1) student admission, 1.2) personnel management, including recruitment, professional development, performance supervision and monitoring, and personnel welfare, 1.3) buildings and grounds, 1.4) budget management, 1.5) school-parent-community relationships, and 1.6) public relation; and 2) Academic Affairs Management comprising nine components: 2.1) curriculum administration, 2.2) teaching and learning management, 2.3) media, innovation, and educational technology, 2.4) learning atmosphere management, 2.5) learning resources management, 2.6) learner development activities, 2.7) measurement and evaluation, 2.8) supervision and guidance, and 2.9) teaching and learning support.
2. The model for developing school administration in private primary schools in the central region consisted of: 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) media and equipment, 5) procedures, and 6) evaluation.
3. The results of the validation and confirmation of the administrative model of private primary schools in the central region of Lao PDR revealed that all aspects of the developed model achieved the highest levels of appropriateness, feasibility, utility, and correctness.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 17,034.13 KB |