สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวความคิดการเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวความคิดการเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดการคิดแก้ปัญหา 4) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม 5) แบบประเมินเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t – test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) เนื้อหาสาระ 5) กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษากรณีศึกษาร่วมกัน ขั้นที่ 2 วินิจฉัยปัญหาร่วมกัน ขั้นที่ 3 ค้นหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ขั้นที่ 5 ประเมินผลการแก้ปัญหาร่วมกัน ขั้นที่ 6 สรุปกรณีศึกษาและรายงานผลร่วมกัน และ ขั้นที่ 7 นำเสนอผลงานและประเมินผลร่วมกัน และ 6) การวัดและประเมินผลของรูปแบบ
2. ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวความคิดการเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 การคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 ทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.4 เจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก ( x=4.21, SD=0.57)
The purposes of this research were to: 1) develop a blended learning instructional model based on collaborative and case-based learning to enhance nursing students’ learning achievement, problem solving thinking, teamwork skills and attitudes toward nursing profession; 2) examine the effects after the implementation of the developed blended learning instructional model; and 3) investigate the nursing students’ satisfaction after the intervention. The sample group consisted of 35 nursing students, obtained through a purposive sampling, from the Faculty of Nursing, Ratchathani University Udonthani campus, in the 2021 academic year. The research instruments included 1) a blended learning instructional model based on collaborative and case-based learning, 2) a learning achievement test, 3) a problem-solving thinking assessment form, 4) a teamwork skill assessment form, and 5) an assessment form on attitudes toward nursing profession, and 6) a student satisfaction questionnaire toward learning through the developed blended learning instructional model. The data were statistically analyzed using percentage, mean, standard deviation and t-test for Dependent Samples.
The findings were as follows:
1. The developed blended learning instructional model consisted of seven components: 1) background and significance, 2) principles, 3) objectives, 4) contents, and 5) a seven-step instructional process: Step 1- examining case studies collaboratively, Step 2-Diagnosing problems together, Step 3-Searching for alternatives solutions together, Step 4-Sharing knowledge, Step 5-Jointly evaluating problem-solving outcomes, Step 6- Collaboratively summarizing and reporting case studies, and Step 7-Sharing and assessing presentations, and 6) Measuring and evaluating the model.
2. The effects after the implementation of the blended learning instructional model based on collaborative and case-based learning revealed that:
2.1 The learning achievement of nursing students after the intervention was higher than that of the pre – intervention at the .01 level of significance
2.2 The nursing students’ problem-solving thinking improvedfollowing the intervention, with the .01 level of significance compared to their pre – intervention.
2.3 The teamwork skills of nursing students were higher than those of the pre – intervention at the .01 level of significance.
2.4 The nursing students’ attitudes toward the nursing profession after the intervention was higher than those of the pre – intervention at the .01 level of significance.
3. The nursing students’ satisfaction toward learning through the developed blended learning instructional model was at a high level ( x=4.21, SD=0.57).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,036.64 KB |