ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Conditions, Problems and Guidelines for Operational Development for Student Discipline Enhancement in Schools under the Buengkan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
สัตยา ไชยเชษฐ์ รหัส 60421229116 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร ,ดร.สุมัทนา หาญสุริย์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2)เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียนที่มีสถานภาพต่างกัน ที่ลักษณะการเปิดสอนต่างกัน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนขนาดต่างกันและที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งต่างกันและ 3) หาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 387 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 89 คน และครูผู้สอน จำนวน 298 คน จาก 89 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test ชนิด Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย

2. สภาพการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. สภาพและปัญหาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียนของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่ลักษณะการเปิดสอนต่างกัน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน

4. สภาพและปัญหาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียนของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียน ที่มีขนาดต่างกัน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน

5. สภาพการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งต่างกัน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัญหาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียนของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งต่างกัน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน

7. การดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียนของโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา มีจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความประพฤติและด้านการปฏิบัติตน โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ กำกับดูแลและตรวจสอบ ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังพฤติกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนที่มีความประพฤติดี กล่าวยกย่องชมเชยให้รางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับนักเรียนคนอื่น อบรมและชี้แจงแนวปฏิบัติให้กับนักเรียนได้อย่างถูกต้องมีกฎระเบียบอย่างชัดเจน จัดกิจกรรมสอดแทรกหรือบูรณาการ ประสานเครือข่ายร่วมกันดูแลเอาใจใส่ ปรับปรุง แก้ไขและพัฒนานักเรียนอย่างสม่ำเสมอและอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) investigate operational conditions and problems of student discipline enhancement in schools under the Buengkan Primary Educational Service Area Office, 2) compare operational conditions and problems of student discipline enhancement in schools, classified by participants with different status, types of school program provision, school sizes, and work experience, and 3) to establish the guidelines for developing operations of student discipline enhancement in schools. The samples consisted of 89 school administrators and 298 teachers from 89 schools under the Buengkan Primary Educational Service Area Office in the 2018 academic year, yielding a total of 387 participants. The research instrument for data collection was a set of 5 – level rating scale questionnaires. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, and 
One – Way ANOVA.

The findings were as follows:

1. The operational conditions of student discipline enhancement in schools as perceived by participants, as a whole, were at a high level, whereas the operational problems, as a whole, were rated at a low level.

2. The operational conditions of student discipline enhancement in schools as perceived by participants with different status, as a whole, were not different, whereas the operational problems, as a whole, were significantly different at the .05 level.

3. The operational conditions and problems of student discipline enhancement in schools as perceived by participants from different types of school program provision, as a whole, were not different.

4. The operational conditions and problems of student discipline enhancement in schools as perceived by participants from different school sizes, as a whole, were not different.

5. The overall operational conditions of student discipline enhancement in schools as perceived by participants from different work experience differed significantly at the .01 level.

6. The overall operational problems of student discipline enhancement in schools as perceived by participants with different working experience were not different.

7. The guidelines for operational development for student discipline enhancement in schools consisted of two aspects needing improvement: Behaviors and Disciplinary Practices. The development guidelines were proposed as follows: Teachers must be good role models. In addition, schools should appoint monitoring and inspection committees. School public relations activities should also enhance and cultivate appropriate behaviors of students. A provision of good behavior support and promotion in students through appraisals and rewards should be implemented to set an example for other students. Schools should also provide training and identify students the code of conduct and practice. The activities should be integrated within subjects, and coordinated with networks regularly and continuously for student discipline’s improvement.
 

คำสำคัญ
วินัยนักเรียน, การเสริมสร้างวินัยนักเรียน
Keywords
Student Discipline, Student Discipline Enhancement
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,003.95 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 กรกฎาคม 2564 - 11:50:49
View 745 ครั้ง


^