สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาแนวทางยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานกับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง จำนวน 377 คน ปีการศึกษา 2561 โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าความเชื่อมั่น 0.972 และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสีย มีค่าความเชื่อมั่น 0.918 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t - test, One-Way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ เพียร์สัน (Pearson product-moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การดำเนินงาน และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง โดยรวม อยู่ในระดับมาก
2. การดำเนินงาน และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง จำแนกตามเพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษาและ ขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีรายละเอียด ดังนี้ การดำเนินงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามเพศโดยรวม ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามสถานภาพ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครพนม มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .973)
4. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานกับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครพนม ใน 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กเล็กด้านการบริหารบุคลากร ด้านการบริหารอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการบริหารวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านการบริหารการมีส่วนร่วม และส่งเสริมสนับสนุน
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationships, and establish the guidelines for upgrading the relationship between operations and stakeholders’ satisfaction in the Child Development Centers (CDCs) under the Subdistrict Administration Organization in Nakhon Phanom province. The sample, obtained through multi-stage sampling, consisted of administrators, teachers, and parents, yielding a total of 377 participants in the academic year 2018. Research tools for data collection were a set of 5-point rating scale questionnaires consisting of two parts: Administration of CDCs with the reliability of 0.972, and stakeholders’ satisfaction toward operations of CDCs having a reliability of 0.918. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation. Hypothesis testing was analyzed through t - test, One-Way ANOVA, Pearson product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.
The results were as follows :
1. The operations and stakeholders’ satisfaction in CDCs under the Subdistrict Administration Organization in Nakhon Phanom province, as perceived by participants as a whole were at a high level.
2. The operations of CDCs and stakeholders’ satisfaction toward operations in CDCs under the Subdistrict Administration Organization in Nakhon Phanom province, as perceived by participants classified by gender, status, educational background, and sizes of CDCs, could be detailed as follows: In terms of gender, there was no difference. No difference was also found in terms of status. When considering each aspect, academic affairs, and activities in curricula were different at a statistical significance of .05 level. In terms of educational background, there was no difference. When considering each aspect, personnel administration was different at a statistical significance of .05 level. In terms of sizes of CDCs, operations as a whole were not different. When considering in each aspect, there were differences at a statistical significance of .05 level. Stakeholders’ satisfaction toward operations of CDCs in general was different at a statistical significance of .05 level.
3. Stakeholders’ satisfaction and CDCs under the Subdistrict Administration Organizations in Nakhon Phanom province had a positive relationship at a statistical significance of .01 level (r = .973).
4. In this research, the researcher proposed the guidelines to upgrade the relationship between operations and stakeholders’ satisfaction in CDCs under the Subdistrict Administrative Organizations in Nakhon Phanom province in five aspects: Administrative management, Personnel management, Building, environment and safety management, Academic affairs administration and curriculum activities, and Participation, promotion, and support management.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 5,626.45 KB |