สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2564 จำนวน 276 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 60 คน และครู จำนวน 216 คน จากโรงเรียน 30 โรงเรียน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของเครื่องมือแบบสอบถาม สภาพปัจจุบันของทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.235 - 0.742 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.946 สภาพที่พึงประสงค์ของทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.266 - 0.977 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ใช้สถิติที่ (t-test ชนิด Independent Samples) ใช้การทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Needs Index; PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความต้องการจำเป็นของครูในศตวรรษที่ 21 พบว่า ทักษะประยุกต์สำหรับการทำงาน มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด
4. ทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ที่ต้องพัฒนา คือ ทักษะประยุกต์สำหรับการทำงานโดยมีแนวทางพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการศึกษา คือ นำเกมส์มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน สร้างช่อง YouTube และมีวิดีโอสื่อการเรียนรู้ และเข้ารับการฝึกอบรมทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการศึกษา 2) ด้านทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยให้กับผู้เรียน และ 3) ด้านทักษะการใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล คือ พัฒนาตนเองและเรียนรู้จากการปฏิบัติงานด้วยวิธีการที่หลากหลาย และนำไปสู่การพัฒนาเป็นครูต้นแบบ
The purpose of this research was to investigate the need assessment and guidelines for developing teachers’ digital skills in the 21st century under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan. The sample consisted of 276 participants, including 60 school administrators and 216 teachers from 30 schools under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan in the 2021 academic year, selected through stratified random sampling. The research instruments included a set of questionnaires and an interview form on the current and desirable conditions of teachers’ digital skills in the 21st century, with the discriminative power ranging from 0.235 to 0.742, and from 0.266 to 0.977, and the reliability rates of 0.946 and 0.983, respectively. The statistics for data analysis included frequency, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, and Modified Priority Needs Index (PNImodified).
The findings revealed that:
1. The current conditions of teachers’ digital skills in the 21st century under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan, as perceived by school administrators and teachers, were rated at the high level, while the desirable conditions were at the highest level.
2. Teachers’ digital skills in the 21st century under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan in terms of current conditions, classified by school administrators’ and teachers’ positions, as a whole, were different at the .01 level of significance. In terms of desirable conditions, there were not differences in overall. The current and desirable conditions, classified by school sizes, as a whole, were different at the .01 level of significance.
3. The need of teachers in the 21st century that received the highest priority index value was the working skill utilization.
4. The teachers’ digital skill in the 21st century under Mukdahan Secondary Education Service Area Office in terms of working skill utilization was rated as needing development. The guidelines for improving the aforementioned variable consisted of the following skills: 1) Social Media Utilization for Education through using games in the teaching and learning process, creating a YouTube channel, using VDO as a learning media, and receiving training in social media skills for education; 2) Digital Utilization with Safety and Security focusing on professional learning communities and educating students about digital safety; 3) Utilization of Digital Media Creation Programs for self-development, and learning by doing using a variety of methods to become a role model teacher.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,913.49 KB |