สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน 2) เปรียบเทียบสภาพปัจจุบัน และปัญหาการพัฒนาครูของโรงเรียนตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับของการเปิดสอน และขนาดของสถานศึกษาและ 3) แนวทางการพัฒนาครู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 346 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 100 คน และครูผู้สอน จำนวน 246 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น และกลุ่มเป้าหมายผู้เชี่ยวชาญ ในการหาแนวทางพัฒนาครู จำนวน 10 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การทดสอบที (t-test) ชนิดกลุ่มตัวอย่างทั้งสองเป็นอิสระต่อกัน (Intendant Samples) และการทดลอบเอฟ (F-test) ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA)
ผลของการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีปัญหาการพัฒนาครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พบว่า
2.1 สภาพปัจจุบันการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน และปัญหาการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 สภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำแนกตามระดับของการเปิดสอนโดยรวมไม่แตกต่างกัน
2.3 สภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. แนวทางการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารที่สำคัญมีดังนี้ ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของครูและนักเรียนการหาวิธีการพัฒนาผู้เรียน ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ กระบวนการทำวิจัย การสร้างนวัตกรรม การเขียนโครงร่าง การวิจัย การสร้างเครื่องมือและการเก็บรวมรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ การวัดผลและประเมินผล และด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถการใช้สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาและการนิเทศ
The purposes of this research were to: 1) examine current conditions and problems regarding teacher development in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office, 2) compare current conditions and problems regarding teacher development in schools as perceived by school administrators and teachers, classified by position, level of education programs, and school sizes, and 3) establish the guidelines for teacher development. The sample group consisted of 346 participants, including 100 school administrators and 246 teachers, selected through stratified random sampling. A total of ten experts was recruited through purposive sampling to validate the developed guidelines. The research instrument was a set of 5-level rating scale questionnaires. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, content analysis, t-test for Independent Samples, and One-Way ANOVA.
The findings were as follows:
1. The current conditions and problems regarding teacher development in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office as a whole were at a high level.
2. The comparison results of current conditions and problems regarding teacher development in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office revealed that:
2.1 The current conditions regarding teacher development, classified by position, as a whole were not different. In terms of problems, there were different at the .05 level of statistical significance.
2.2 The current conditions and problems regarding teacher development classified by level of education programs as a whole were not different.
2.3 The current conditions and problems regarding teacher development classified by school sizes as a whole and individual aspects were different at the .01 level of statistical significance.
3. The guidelines for teacher development in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office should address the following key aspects: Student-Centered Learning and Teaching Management- teacher and student participation, and utilizing approaches for learner development; Classroom Research covering the research process, innovation construction, and drafting research proposals, conducting research, constructing research instruments and data collection, data analysis and classroom research report writing; Learning Evaluation and Measurement consisting of evaluation and measurement; and Application of Media and Educational Technology consisting of promoting and developing knowledge and abilities in using media and educational technology, and supervision.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,242.45 KB |