สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2561 โดยการวิเคราะห์อภิมานซึ่งมีประเด็นที่มุ่งศึกษา ได้แก่ 1) วิเคราะห์ลักษณะและปริมาณของงานวิจัย และ 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยทีศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาที่เป็นวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยของรัฐภายในประเทศ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2561 ที่สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูล ThaiLIS ผู้วิจัยใช้คำสำคัญในการสืบค้นคือ รูปแบบการเรียนการสอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ การสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 128 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และเกณฑ์การประเมินคุณภาพงานวิจัย 2) แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และคู่มือลงรหัสงานวิจัย การคำนวณค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยใช้สูตรของ Glass สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าขนาดอิทธิพลโดยใช้สถิติของ Kruskal-Wallis Test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานของงานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยการวิเคราะห์อภิมาน ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2561 มีจำนวน 128 เรื่อง สรุปได้ดังนี้ งานวิจัยที่ผลิตในปี 2557 มีจำนวนมากที่สุด สถาบันที่มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สาขาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ สาขาหลักสูตรและการสอน ระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้มากที่สุด คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ ระยะเวลาในการทดลอง ระหว่าง 11-20 ชั่วโมง มีจำนวนมากที่สุด งานวิจัยโดยส่วนมากใช้วิธีการสุ่มโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองที่ใช้มากที่สุด คือ แผนการจัดการเรียนรู้ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยส่วนมากมีค่าความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความยากง่าย และอำนาจจำแนก สถิติพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงที่ใช้มากที่สุด คือ t-test
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้สถิติของ Kruskal-Wallis Test
2.1 วิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการเรียนการสอนกับค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการเรียนการสอนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างกันจะทำให้ค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษแตกต่างกัน รูปแบบในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดีที่สุด คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาด้านจิตพิสัย รองลงมาคือ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ และรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาด้านพุทธิพิสัย ตามลำดับ
2.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างกับค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า ระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันไม่ทำให้การใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษนั้น แตกต่างกัน
The purpose of this research was to synthesize the research studies concerning instructional models which affected to English achievement.
The research studies employed for the synthesis were those conducted from 2000 to 2018 by using Meta-analysis. The study was focused on 1) finding out the traits and a number of research projects and 2) Analysising the differences of Effect Size of the research results. The subject were the graduate’s research studies conducted in government universities in Thailand and these researches were published during 2000-2018. These studies were from ThaiLIS database. Keywords used for retrieving the research studies included instructional models, English achievement, and English Teaching. Using these keywords to retrieve the studies from ThaiLIS 128 projects that has been obtained altogether.The instruments used in this study consisted of 1) a form to evaluate the research quality, and 2) a form to record the traits of the research studies and the manual for encoding the research. To measure the research effect size, Glass’s formulas were employed. The statistics used for data analysis were composed of percentage, mean, standard deviation, and compare the different of research effect size, Kruskal-Wallis Test.
The findings were as follows:
1. The basic data of all 128 research studies which were the subject of this study indicated that Udon Thani Rajabhat University had most research projects; most studies related to Curriculum and Instruction; these studies were mostly conducted in 2014; Junior High School students was selected as the subjects employed for studying; Integration was used most; the period of the experiments was mostly set from 11-20 hours; most samples were obtained by using probability; these studies adopted One Group Pretest-Posttest Design; lesson plan was mostly used as the research instrument; all four characteristics of the instruments had been checked (validity, reliability, difficulty, discrimination); the basic statistics adopted most were mean and standard deviation and t-test was used to examine the hypothesis most.
2. Comparative Analysis of the difference of the effect size of the research studies concerning instructional models affect to English achievement by using statistic of Kruskal-Wallis Test.
2.1 Comparative Analysis of the difference of instructional models and the effect size of the research studies concerning instructional models affect to English achievement, it found that their effect sizes were significantly different from one another at .05 statistics level. This difference showed that difference instructional models resulted in different English achievement. The best instructional models were affective domain while integration was the second best; followed by cognitive domain, respectively.
2.2 Comparative Analysis of the difference of grades and the effect size of the research studies concerning instructional models affect to English achievement, it found that their effect sizes were not significantly different. This difference showed that difference grades did not make used in different English
achievement.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,622.50 KB |