ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับผังมโนทัศน์
Development of Science Process Skills of Mathayomsuksa 4 Students on the Topic of Linear Motion by Using Student Team Achievement Division Technique with Concept Mapping
ผู้จัดทำ
ประจักษ์ สนธิรักษ์ รหัส 60421238117 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การสอนวิทยาศาสตร์
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถาดทอง ปานศุภวัชร , ดร.อรุณรัตน์ คำแหงพล
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.59/82.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่ามากที่สุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop and find the efficiency of lesson plans on the topic of linear motion, 2) compare science process skills before and after learning, 3) compare learning achievement before and after learning, and 4) study the satisfaction of students toward the learning management. The sample were 30 students by using cluster random sampling in a 4/6 classroom of Kusumanvittayakom school, during the first semester of academic year 2021. The research instruments consisted of 1) 7 lesson plans on the topic of linear motion, 2) 30 items of science process skills test, 3) 30 items of learning achievement test, and 4) 20 items of satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test for dependent samples.

The findings of the study revealed that 

1. The efficiency of the lesson plans on the topic of linear motion was 83.59/82.77, higher than the expected criterion 75/75. 

2. The science process skills were significantly higher than that of before learning at the .01 level. 

3. The learning achievement was significantly higher that of than before learning at the .01 level. 

4. The satisfaction of the students toward the learning management was at the highest level. The most valuable is the learning activities.
 

คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ ผังมโนทัศน์ การเคลื่อนที่แนวตรง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
Keywords
Student Team Achievement Division, Concept Mapping, Linear Motion, Science Process Skills
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,004.92 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
3 มีนาคม 2566 - 10:31:06
View 565 ครั้ง


^