ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง พหุนามและการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Development of Mathematical Learning Activities Based on Flipped Classroom Approach and Cooperative Learning STAD Entitled Polynomial and Factorization Second Degree Polynomial for Mathayomsuksa 2 Students
ผู้จัดทำ
พิชยาพร ราชคำ รหัส 60421249112 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ธนานันต์ กุลไพบุตร , รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง พหุนามและการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ร้อยละ 75/75 2) ดัชนีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามเกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 77.51/76.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 75/75

2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิผล 66.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.85)
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop mathematical learning activities based on a Flipped Classroom Approach and a Cooperative Learning STAD Model, entitled Polynomial and Factorization Second Degree Polynomial for Mathayomsuksa 2 students, to meet the efficiency of 75/75, 2) to determine the effectiveness index of the developed mathematical learning activities with standard criteria at 50 percent or above, 3) to compare students’ learning achievement before and after the intervention, and 4) to examine students' satisfaction toward learning through the developed mathematical learning activities. The sample consisted of 38 students attending Mathayomsuksa 2/6 in the second semester of 2019 academic year at Mathayomwaritphume School, selected through cluster random sampling. The research instruments included: 1) lesson plans, 2) a learning achievement test, and 3) a set of questionnaires assessing students’ satisfaction toward learning through the developed mathematical learning activities. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test.

The findings were as follows:

1. The effectiveness of the developed mathematical learning activities was 77.51/76.14, which was higher than the defined criteria of 75/75.

2. The effectiveness index of the developed mathematical learning activities was 66.17, which achieved the defined criteria of 50 percent or above.

 3. The students’ learning achievement after the intervention was higher than that of before the intervention at the .01 level of statistical significance.

4. Student satisfaction toward learning through the developed mathematical learning activities was at the highest level ( x = 4.85) overall.
 

คำสำคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้องเรียนกลับด้าน การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
Keywords
Mathematical Learning Activities, Flipped Classroom, Cooperative Learning STAD Model
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,697.12 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 13:46:59
View 449 ครั้ง


^