ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of English Skills Using Cooperative Learning STAD Technique with Multimedia for Prathomsuksa 5 Students
ผู้จัดทำ
พัชรี รื่นนาค รหัส 60421249118 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์ , รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2) เปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ และ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 51 (บ้านโคกกว้าง) อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะภาษาอังกฤษ 3) แบบวัดพฤติกรรมกลุ่ม และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t–test) 

ผลการวิจัย พบว่า

1. กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.10/81.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้เท่ากับ 75/75

2. ทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01

3. พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยรวมนักเรียนมีพฤติกรรมการทางานกลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.64, S.D. = 0.49)

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x = 4. 30, S.D. = 0.66)
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine the effectiveness of the learning activities to improve English skills using cooperative learning STAD technique with multimedia for Prathomsuksa 5 students to meet the efficiency criteria of 75/75, 2) to compare students’ English skills  before and after learning through the developed learning activities, 3) to investigate the students’ group work behaviors after the intervention, and 4) to examine students’ satisfaction toward learning through the developed learning activities. The sample, obtained through purposive sampling, consisted of 27 Prathomsuksa 5 students who enrolled in the second semester of the academic year 2020 at Thairathwittaya 51 (Bankhokkwang) School, Bungkla District, Buengkan province. The research tools included five lesson plans, an English skills achievement test, an evaluation form of students’ group work behaviors, a form of students’ satisfaction questionnaires. The statistical methods used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Dependent Samples t-test.

The findings were as follows:

1. The learning activities for developing English skills using the cooperative learning STAD technique with multimedia for Prathomsuksa 5 met the efficiency criteria of 80.10/81.27, which was higher than the defined criteria of 75/75.

2. The students' English skills after learning through the developed learning activities were higher than those of before the intervention at a statistical significance of .01 level.

3. The group work behaviors of students after the intervention were overall at a high level (x  = 4.64, S.D. = 0.49)

4. The students' satisfaction toward learning through the learning activities for developing English skills was at a high level ( x= 4.30, S.D. = 0.66)
 

คำสำคัญ
ทักษะภาษาอังกฤษ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สื่อประสม
Keywords
English Skills, Cooperative Learning STAD Technique, Multimedia
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,091.88 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 15:12:21
View 3033 ครั้ง


^