สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ LT ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ LT ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ LT ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ LT ร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 32 คน โรงเรียนปลาปากวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่เป็นอิสระกัน (Dependent Samples t–test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ LT ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.19/84.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้เท่ากับ 75/75
2. กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ LT ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับร้อยละ 75.41 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้เท่ากับร้อยละ 50
3. ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ LT ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ LT ร่วมกับผังกราฟิก โดยรวมอยู่ในระดับมาก( x = 4.50, S.D. = 0.25)
The purposes of this research were: 1) to develop learning activities for enhancing creative writing ability using Learning Together (LT) with graphic organizers for Mathayomsuksa 3 students to meet the efficiency criteria of 75/75, 2) to determine the effectiveness index of the developed learning activities to enhance creative writing abilities of Mathayomsuksa 3 students using LT with graphic organizers, 3) to compare the students’ creative writing abilities before and after the intervention, and 4) to examine students’ satisfaction with the developed learning activities. The sample, obtained through cluster sampling, consisted of 32 Mathayomsuksa students from class 3/1 at Plapakwittaya School under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The research tools included five lesson plans, a creative writing ability test, and a satisfaction survey form. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test.
The findings were as follows:
1. The developed learning activities for enhancing creative writing abilities using LT with graphic organizers for Mathayomsuksa 3 students achieved the efficiency of 85.40/84.25, which was higher than the established criteria of 75/75.
2. The developed learning activities for enhancing creative writing abilities using LT with graphic organizers for Mathayomsuksa 3 students reached the effectiveness index of 75.41 percent, which was higher than the set criterion of 50 percent.
3. The students’ creative writing abilities after the intervention were higher than those before the intervention at the .01 level of significance.
4. The students' satisfaction with the developed learning activities was overall at the highest level ( x = 4.50, S.D. = 0.25).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 4,758.86 KB |