ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ รักษ์สุขภาพ รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of Learning Activities Using Problem-Based Learning (PBL) Integrated with Electronic Books on Health Care Learning Unit, Health Education Subject for Mathayomsuksa 3 Students
ผู้จัดทำ
ปิยะฉัตร แสงงาม รหัส 60421249145 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย, ดร.พจมาน ชำนาญกิจ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ รักษ์สุขภาพ รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบความตระหนักในการรักษาสุขภาพและการป้องกันโรคของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 49 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random  sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ รักษ์สุขภาพ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความตระหนักในการรักษาสุขภาพและการป้องกันโรค และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (ar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เกณฑ์ประสิทธิภาพ (E1/E2) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระกัน (Dependent samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ รักษ์สุขภาพ รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 84.08/85.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความตระหนักในการรักษาสุขภาพและการป้องกันโรคของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ar{X} = 3.92, S.D. = 0.10)

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop the learning activities using problem-based learning (PBL) integrated with electronic books on Health Care Learning Unit, Health Education Subject for Mathayomsuksa 3 students to achieve the effectiveness criteria of 80/80, 2) compare the learning achievement before and after the intervention, 3) compare the students’ awareness of health care and disease prevention before and after the intervention, and 4) examine students’ satisfaction toward learning through the developed learning activities. The samples, obtained through the cluster random sampling, were 49 Mathayomsuksa 3 students of Thatnaraiwittaya School during the second semester of academic year 2019. The research instruments included: 1) electronic books on Health Care Learning Unit, 2) lesson plans, 3) a learning achievement test, 4) an assessment form concerning awareness of health care and disease prevention, and 5) a student satisfaction form. The statistics for data analysis were mean (ar{X}), standard deviation (S.D.), the E1/E2 efficiency criteria, and Dependent Samples t-test.

The findings were as follows:

1. The effectiveness of learning activities using problem-based learning integrated with electronic books on Health Care Learning Unit, Health Education Subject for Mathayomsuksa 3 students was 84.08/85.36 which was higher than the set criteria of 80/80.

2. The student learning achievement after learning through the developed learning activities was higher than that of before the intervention at 0.01 level of significance. 

3. The student awareness on health care and disease prevention after the intervention was higher than that of before the intervention at 0.01 level of significance. 

4. The students’ satisfaction toward learning through the developed learning activities as a whole was at a high level (ar{X} = 3.92, S.D. = 0.10).

คำสำคัญ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ความตระหนักในการรักษาสุขภาพและป้องกันโรค
Keywords
Problem-Based Learning, Electronic Book, Awareness of Health Care and Disease Prevention
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,572.63 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 กุมภาพันธ์ 2564 - 09:45:22
View 536 ครั้ง


^