ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
Factors Affecting the Quality of Life of the Elderly in At-Samat Sub-district Administrative Organization, Mueang District, Nakhon Phanom Province
ผู้จัดทำ
ปรางค์ทิพย์ ศรีไทย รหัส 60426423101 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น ,รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 260 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  

ผลการวิจัยพบว่า 

1. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x =3.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อม (x =3.79) รองลงมาคือ ด้านร่างกาย (x =3.59) ด้านความสัมพันธภาพทางสังคม (x =3.52) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านจิตใจ (x =2.99)

2. การสนับสนุนทางสังคมต่อผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x =3.49) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การสนับสนุนด้านอารมณ์ (x =3.79) รองลงมาคือ การสนับสนุนด้านการประเมิน (x =3.45) การสนับสนุนด้านการเงิน แรงงานและสิ่งของ (x =3.40) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร (x =3.36)

3. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ ในภาพรวม เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมด้านการประเมิน (มีค่าเบต้า =.366) ด้านข้อมูลข่าวสาร (มีค่าเบต้า =.287) ด้านการเงิน แรงงาน และสิ่งของ (มีค่าเบต้า =.151) มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 และด้านอารมณ์ มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดย สามารถร่วมกันทำนายระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ ได้ร้อยละ 44.70
 

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of quality of life of the elderly in At-Samat Sub-district Administrative Organization, 2) to study the level of social support to the elderly in At-Samat Sub-district Administrative Organization, 3) to compare the level of the quality of life of the elderly in At-Samat Sub-district Administrative Organization, and 4) to examine the social support factors’ influences on the quality of life of the elderly in At-Samat Sub-district Administrative Organization. The samples comprised 379 elderly in At-Samat Sub-district Administrative Organization, Mueang District, Nakhon Phanom Province. The data was collected by using the questionnaire as the instrument and statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, One – way ANOVA, and Multiple Linear Regression Analysis. 

The study revealed these results:

1. The quality of life of the elderly in At-Samat Sub-district Administrative Organization, as a whole, was at the moderate level (x =3.46). Contemplating each aspect, it was found that the environment obtained the highest mean (x =3.79), the body gained the second highest mean (x =3.59), the social relations attained the third highest mean, and the mentality obtained the lowest mean (x =2.99).

2. The social support to the elderly in At Samat Sub-district Administrative Organization, as a whole, was at the moderate level (x =3.49). Contemplating each aspect, it was found that the emotional support gained the highest mean (x =3.79). At the same time, the assessment support contained the second highest mean (x =3.45), the financial support as well as the support of the articles or things gained the third highest mean (x =3.40), while the support of an information got the least mean (x =3.36).

3. Comparing the quality of life of the elderly in At Samat Sub-district Administrative Organization on the basis of their genders, ages, marital statuses, educational backgrounds, careers, and monthly incomes, it was found that the quality of life of the elderly in At Samat Sub-district Administrative Organization, as a whole, did not differ. Nevertheless, when comparing the quality of life of the elderly in At Samat Sub-district Administrative Organization based on different villages these elderly people resided, it was found that the quality of their lives significantly differed at .05 statistical level.

4. Examining the influences of the socially supportive factors, the study demonstrated that the social support to the assessment gained .366 beta (β); the information β = .287; the finance, labor and articles or things β = .151; and, they significantly affected the quality of life of the elderly in At Samat Sub-district Administrative Organization at .00 statistical level. In the meantime, the emotional support significantly influenced on the quality of life of the elderly in At Samat Sub-district Administrative Organization at .01 statistical level. Altogether, these factors could be used to accurately predict the quality of life of the elderly in At Samat Sub-district Administrative Organization 44.70% while the rest 55.30% of the quality of life of the elderly in At Samat Sub-district Administrative Organization was influenced by other factors. 
 

คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต
Keywords
The elderly, Quality of life
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,581.71 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 กรกฎาคม 2564 - 11:39:17
View 460 ครั้ง


^